วิสัยทัศน์
สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็งเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและรักษาสมดุลทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับฐานรากของประเทศ
:: พันธกิจ ::
2. ขยายเครือข่ายความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาระบบสหกรณ์
3. เร่งรัดการจัดที่ดินและส่งเสริมอาชีพในเขตนิคมสหกรณ์
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกความเป็นสหกรณ์ และการมีส่วนร่วม
5. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านการบริหารจัดการ ทางด้านเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ในระบบสหกรณ์
6. สนับสนุนและคุ้มครองสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใต้หลักการสหกรณ์สากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
7. ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐและบุคลากรให้เอื้อต่อการส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์
:: ประเด็นยุทธศาสตร์ ::
2. เสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นสหกรณ์ การมีส่วนร่วม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ให้เข้มแข็งในระบบสหกรณ์
3. สนับสนุนระบบสหกรณ์ให้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนท้องถิ่นและประเทศ
4. ปรับโครงสร้างองค์กร พัฒนาบุคลากร และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ |
เป้าประสงค์ |
ตัวชี้วัด |
กลยุทธ์ |
1. เร่งรัด ยกระดับคุณภาพ และขยายการให้บริการแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป | 1.สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร สมาชิก และประชาชนทั่วไปได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา |
1.จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนา 2.ร้อยละของสหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 3.ร้อยละของกลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 4.ร้อยละของจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนามีอัตราการเพิ่มของปริมาณธุรกิจ 5.ร้อยละของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร/กลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 6.จำนวนนิคมสหกรณ์ที่บรรลุผลตามหลักเกณฑ์การจัดนิคมสหกรณ์ 7.ร้อยละของจำนวนเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ที่สหกรณ์ได้รับการสนับสนุน 8.ร้อยละของจำนวนสหกรณ์ได้รับการสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์เพิ่มขึ้น |
1.1 ขยายการถ่ายทอดองค์ความรู้การสหกรณ์ การส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนระบบสหกรณ์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีคุณภาพ
1.2ขยายเครือข่ายความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาระบบสหกรณ์ 1.3 เพิ่มศักยภาพให้กองทุนพัฒนาสหกรณ์และเงินรายได้นิคมสหกรณ์ในบทบาทการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองสหกรณ์ให้เข้มแข็ง 1.4 ขยายงานและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้กว้างขวางและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 1.5 เร่งรัดการจัดที่ดินและการส่งเสริมอาชีพในพื้นที่นิคมสหกรณ์ 1.6 สนับสนุนและคุ้มครองระบบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทางด้านการเงิน การผลิต การรวบรวม การแปรรูปและการตลาดตามศักยภาพและความสามารถ 1.7 ยกระดับคุณภาพการบริการและผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐาน และขยายสู่สากล |
2. เสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นสหกรณ์ การมีส่วนร่วม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ให้เข้มแข็งในระบบสหกรณ์ | 2.สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไปมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบสหกรณ์ |
1.จำนวนเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ 2.จำนวนบุคลากรของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาความรู้ในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ อย่างเข้มข้น 3.ร้อยละของจำนวนสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น 4.จำนวนเครือข่ายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 5.จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ |
2.1 สนับสนุน และส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสร้างโอกาสให้กับองค์กรและสมาชิก
2.2 รณรงค์ สร้างองค์ความรู้และความเข้าใจกับบุคลากรของสหกรณ์และประชาชนทั่วไปให้เกิดศรัทธาในอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง 2.3 เสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามหลักการสหกรณ์ และหลักธรรมาภิบาล 2.4 วางระบบรองรับนโยบายภาครัฐ และผลกระทบจากภัยธรรมชาติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม
2.5 สนับสนุนการบัญญัติกฎหมายสหกรณ์เพิ่มเติม และ/หรือแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วม ให้เอื้อต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง |
3. สนับสนุนระบบสหกรณ์ให้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ | 3.สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนท้องถิ่นและประเทศ |
1.ร้อยละของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) 2.จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมทางเศษฐกิจและสังคมกับชุมชน และท้องถิ้น |
3.1 สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานและ/หรือสถาบันการศึกษาในการศึกษาวิจัย กำหนดหลักสูตร และ/หรือพัฒนาบุคลากรด้านการสหกรณ์อย่างเป็นระบบ
3.2 ขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของระบบสหกรณ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมของชุมชนท้องถิ่น และประเทศ 3.3 สร้างพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสหกรณ์ 3.4 สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการสหกรณ์
|
4. ปรับโครงสร้างองค์กร พัฒนาบุคลากร และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ | 4.เป็นหน่วยงานที่มีขีดสมรรถนะสูง และมีความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม | 1.ระดับความสำเร็จของการดำเนินการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(ร้อยละโดยเฉลี่ย) |
4.1 ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงโคงสร้างกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้มีความเป็นอิสระในขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสหกรณ์
4.2 พัฒนาสมรรถนะและสร้างเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career path) อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจแก่บุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ 4.3 ศึกษา วิจัย กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสหกรณ์ และขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 4.4 สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ |