ban coop007

สหกรณ์ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

ban coop012  ban coop014  ban coop016  ban coop018

ban coop013  ban coop015  ban coop017

 **คลิกรูปเพื่อดูข้อมูลแต่ละประเภทสหกรณ์

ban coop006

ban coop008

              สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ผู้มีอาชีพทางการเกษตรรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อนายทะเบียนสหกรณ์
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจกรรมร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อน ในการประกอบอาชีพของสมาชิก
และช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น

ban coop009

              สหกรณ์การเกษตรแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 ชื่อว่า “สหกรณ์วัดจันทร์” ในจังหวัดพิษณุโลก
เป็นสหกรณ์การเกษตรชนิดไม่จำกัด มีขนาดเล็กในระดับหมู่บ้านตั้งขึ้นในหมู่เกษตรกรที่มีรายได้ต่ำและมี หนี้สินมาก มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 16 คน
มีทุนดำเนินงานจำนวน 3,080 บาท จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเป็นทุนจากการกู้แบงค์สยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) 3,000 บาท

ban coop010

               สหกรณ์การเกษตรดำเนินธุรกิจแบบอเนกประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกดำเนินธุรกิจร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยเหลือส่วนรวม
โดยใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามตามพื้นฐานของมนุษย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและส่วนรวม ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์  ทำไมต้องจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรเนื่องจากในการประกอบอาชีพของเกษตรกร มักประสบปัญหาต่างๆ ที่สำคัญๆ ดังนี้

1. ขาดแคลนเงินทุน เงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพมีไม่เพียงพอ ต้องกู้ยืมจากพ่อค้าหรือนายทุนในท้องถิ่น ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยแพง

2. ขาดแคลนที่ดินทำกิน เกษตรกรบางรายมีที่ดินทำกินน้อย บางรายไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ต้องเช่าที่ดินผู้อื่นทำกิน โดยเสียค่าเช่าแพงและ
ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการเช่า


3. ปัญหาในเรื่องการผลิต เกษตรกรขาดความรู้เกี่ยวกับการผลิตสมัยใหม่ที่ถูกต้อง เช่น การใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงยาปราบศัตรูพืช พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์
ทำให้ผลผิตที่ได้รับต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน นอกจากนั้นผลผิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ และไม่เป็นไปตามความต้องการของตลาด ขาดปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ระบบชลประทาน


4. ปัญหาการตลาด เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบในเรื่องการชั่งตวง วัดและมีความจำเป็นต้องจำหน่ายผลผลิตตามฤดูกาล เนื่องจากไม่มีที่เก็บรักษาผลผลิต
จึงถูกกดราคาจากพ่อค้าเป็นเหตุให้ไม่มีรายได้เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัวปัญหาทางเศรษฐกิจข้างต้น มีผลกระทบต่อสังคมในชุมชน ทำให้คุณภาพชีวิต
และฐานะความเป็นอยู่ต่ำกว่าคนประกอบอาชีพอื่น ขาดการศึกษา การอนามัย และขาดความปลอดภัยในทรัพย์สิน


ban coop011

              จากปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ทั่วไป ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นเรื่องยากที่เกษตรกรแต่ละคน จะแก้ปัญหาได้สำเร็จตามลำพังตนเอง หนทางที่จะสำเร็จได้
โดยเกษตรกรจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยการรวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์และจดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้เพราะสหกรณ์สามารถ
ช่วยแก้ปัญหาด้านต่างๆได้ดังนี้

1. ธุรกิจการซื้อ คือการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเช่น ปุ๋ยยาปราบศัตรูพืชเมล็ดพืชและสิ่งของที่จำเป็นมาจำหน่ายแก่สมาชิกโดยจะสำรวจความต้องการของสมาชิกก่อน
แล้วสหกรณ์จะเป็นผู้จัดหามาจำหน่ายต่อไปซึ่งเพราะการรวมซื้อในปริมาณมาก จะทำให้ซื้อได้ในราคาที่ต่ำลง และเมื่อถึงสิ้นปีหากสหกรณ์มีกำไรก็จะเงินจำนวนนี้มาเฉลี่ยคืนแก่สมาชิกด้วย

2. ธุรกิจขายหรือการรวบรวมผลผลิต ให้แก่สมาชิกทำให้มีอำนาจการต่อรองมากขึ้น ผลผิตจะขายได้ในราคาสูง สมาชิกไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าในเรื่องการชั่ง ตวง วัด
หรือถูกกดราคาในการรับซื้อผลผลิต

3. ธุรกิจธนกิจ (สินเชื่อ)

           (1) การให้เงินกู้เมื่อเกษตรกรรวมตัวกันเป็นสหกรณ์สามารถสร้างความเชื่อถือให้กับสถาบันการเงิน หน่วยงานของทางราชการและบุคคลทั่วๆ ไป
โดยสหกรณ์จะจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาให้สมาชิกกู้ไปลงทุนเพื่อการเกษตร ซึ่งสหกรณ์จะพิจารณาจากแผนดำเนินการหรือแผนการใช้เงินกู้ของสมาชิกประกอบ
การให้เงินกู้ เช่น สหกรณ์อาจให้เงินกู้แก่สมาชิกเพื่อนำไปซื้อวัสดุการเกษตรค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครอบครัว หรือเพื่อนำไปบุกเบิกปรับปรุงที่ดิน หรือจัดซื้อที่ดินการเกษตร

ในกรณีที่สมาชิกไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีน้อยไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร

           (2) การรับฝากเงิน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักและเห็นคุณค่าประโยชน์ของการออมทรัพย์และเพื่อเป็นการระดมทุนในสหกรณ์สหกรณ์จะรับเงินฝากจากสมาชิก 2 ประเภท
คือ เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ โดยสหกรณ์จะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์

4. ธุรกิจการส่งเสริมอาชีพและบริการสหกรณ์  อาจจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ทางด้านการเกษตรคอยให้ความรู้และคำแนะนำทางด้านการเกษตร หรืออาจขอความร่วมมือ
จากหน่วยราชการอื่น ในการให้คำปรึกษาแนะนำให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาการแผนใหม่ตลอดจนการวางแผนการผลิตให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณ

ตรงกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้กลุ่มแม่บ้านสหกรณ์ทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

5. การศึกษาอบรม สหกรณ์จะจัดให้มีการศึกษาอบรมแก่สมาชิก คณะกรรมการสหกรณ์ผู้จัดการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงหลักการ
วิธีการสหกรณ์สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลสหกรณ์ช่วยให้เกษตรกรที่อยู่ในชุมชน หรือสังคมนั้นมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สังคมมีความสุข บุตร
หลานสมาชิกได้รับการศึกษาสูงขึ้น มีสุขภาพอนามัยที่ดีเนื่องจากเกษตรกรมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ban coop019

ban coop020

สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ชาวประมงเพื่อแก้ไขปัญหา และอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ซึ่งชาวประมงแต่ละคน ไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ตามลำพังบุคคลเหล่านี้
จึงรวมตัวกันโดยยึดหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ban coop009

สหกรณ์ประมงแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ชื่อว่า “สหกรณ์ประมงพิษณุโลก จำกัด” ในท้องที่ลำคลองกระบังโป่งนก อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
เป็นสหกรณ์ประมงประเภทน้ำจืด มีสมาชิกแรกตั้งจำนวน 54 คน สหกรณ์ได้ดำเนินการจัดสรรที่ทำกินให้สมาชิกช่วยเหลือสมาชิกในด้านการจำหน่าย การแปรรูป สัตว์น้ำ
ขออนุญาตสัมปทานให้สมาชิกจับสัตว์น้ำได้โดยสะดวก แนนำเทคนิคการจับสัตว์น้ำ และละเว้นการจับสัตว์น้ำที่ยังไม่ได้ขนาดเพื่อสงวนพันธุ์สัตว์น้ำ การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี
จนถึงปี พ.ศ. 2513 ทางราชการมีนโยบายให้คลองต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรเป็นที่สาธารณะ การจับสัตว์น้ำเป็นไปโดยเสรี การดำเนินงานสหกรณ์จึงไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ปัจจุบันสหกรณ์นี้ได้ควบเข้ากับ “สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด” สำหรับการจัดตั้งสหกรณ์ประมงประเภทน้ำเค็มได้เริ่มจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 ชื่อว่า
“สหกรณ์ประมงกลาง จำกัด” ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาทุนจำหน่ายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์แปรรูป จัดหาวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือประมง

ban coop010

1. รวบรวมสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจากสมาชิกมาจัดการขายหรือแปรรูปออกขายเพื่อให้ได้ราคาดี

2. จัดหาวัสดุสิ่งของ รวมทั้งบริการที่ใช้ในการประมง และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ ที่สมาชิกต้องการมาจำหน่าย

3. ให้เงินกู้แก่สมาชิก

4. รับฝากเงินจากสมาชิก

5. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและธุรกิจเกี่ยวกับการประมง

6. ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่สมาชิกและครอบครัวที่ประสบภัยพิบัติในการประกอบอาชีพ

ban coop011

ชาวประมงมักจะประสบปัญหาต่างๆ ดังนี้

1. ขาดแคลนเงินทุน การประกอบอาชีพทางการประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำประมงทะเลต้องลงทุนสูง มีการเสี่ยงต่อการลงทุนมากกว่าการประกอบอาชีพการเกษตรอื่นๆ
ชาวประมงส่วนใหญ่จะกู้เงินจากนายทุนซึ่งเป็นเจ้าของแพ
ปลาในท้องถิ่นมาเป็นทุนดำเนินงาน โดยมีข้อผูกพันที่จะต้องขายสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้เจ้าของแพปลานั้นๆ
ซึ่ง
เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องถูกกดราคารับซื้อเป็นอย่างมาก

2. ขาดเทคนิคในการเพาะเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันปริมาณความต้องการสัตว์น้ำเพื่อบริโภคในประเทศและส่งจำหน่ายต่างประเทศ มีมากขึ้นเป็นผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนไม่ทันกับความต้องการ จึงจำเป็น
อย่างยิ่งที่ชาวประมงจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น

3. วัสดุอุปกรณ์การประมงมีราคาสูงมาก รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการออกเรือก็มีราคาสูงด้วย

4. ขาดความรู้ในด้านการจัดการ ชาวประมงส่วนใหญ่ขาดความรู้ในด้านการจัดการ การจำหน่าย ตลอดจนการหาตลาด เป็นต้นจะเห็นได้ว่าถ้านำหลักการและวิธีการดำเนินงาน
ของสหกรณ์มาใช้สหกรณ์ประมงจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ
ข้างต้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้และจะช่วยให้ชาวประมงมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้ทัดเทียมผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ

สหกรณ์ประมงจะช่วยสมาชิกได้อย่างไร?

สหกรณ์ประมงจะจัดบริการต่างๆ ให้สมาชิก ดังนี้

1. ธุรกิจการขายหรือการรวบรวมผลผลิตให้แก่สมาชิก ทำให้มีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ผลผลิตจะขายได้ราคาสูงขึ้น

2. ธุรกิจการซื้อ หรือการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และสิ่งของจำเป็นมาจำหน่ายแก่สมาชิก โดยจะสำรวจความต้องการของสมาชิกก่อนแล้วสหกรณ์จะเป็นผู้จัดหามาจำหน่ายต่อไป
ซึ่งจะทำให้สหกรณ์สามารถซื้อวัสดุในราคาที่ถูกกว่าที่สมาชิกแต่ละคนจะซื้อเอง

3. ธุรกิจการธนกิจ

               (1) การให้กู้เงิน สหกรณ์จะจัดหาเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรมมาให้สมาชิกกู้ไปลงทุนทำการประมงโดยสหกรณ์จะพิจารณาจากแผนการดำเนินงาน หรือแผนการใช้เงินกู้ของสมาชิกประกอบการให้เงินกู้

               (2) การรับเงินฝาก เพื่อเป็นการส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักและเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์และเพื่อให้เป็นการระดมทุนในสหกรณ์สหกรณ์จะรับฝากเงินจากสมาชิก 2 ประเภท
คือ เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำโดยสหกรณ์จ่ายดอกเบี้ยให้ในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์

4. ธุรกิจการบริการ สหกรณ์ประมงที่มีทุนดำเนินงานมากอาจจัดให้มีธุรกิจการบริการแก่สมาชิก เช่น การจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก
และเพื่อให้สหกรณ์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับสมาชิกให้มากที่สุด

5. ธุรกิจการส่งเสริมการประกอบอาชีพ สหกรณ์อาจจะจัดจ้างเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญด้านการประมง หรืออาจขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการอื่นในการให้การศึกษา แนะนำส่งเสริมให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจ
ในเรื่องการประมงตามหลักวิชาการแผนใหม่ตลอดจนให้มีความรู้ในด้านการวางแผนการประกอบอาชีพการประมง ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและปริมาณตรงกับความต้องการของตลาดอีกด้วย

6. ธุรกิจการให้การศึกษาอบรม สหกรณ์จะจัดให้มีการศึกษาอบรมแก่สมาชิกคณะกรรมการดำเนินการผู้จัดการตลอดจนเจ้าหน้าที่สหกรณ์เพื่อจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 ban coop021

ban coop022

              ที่ดิน นับเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งในการประกอบอาชีพทางการเกษตร มีเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินทำกินน้อยไม่เพียงพอ
กับการเพาะปลูก ต้องเช่าที่ดินจากนายทุนมาทำกิน โดยยอมเสียค่าเช่าราคาแพง และเมื่อรายได้จากการจำหน่ายผลิตผลน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน
และมีฐานะยากจนเรื้อรังจนยากที่จะสร้างตัวเองให้มีฐานะมั่นคงได้ ดังนั้นจึงมีเกษตรกรจำนวนมิใช่น้อยใช้วิธีแก้ปัญหาโดยการบุกรุกเข้าไปทำกินในที่สาธารณประโยชน์และที่สงวนแห่งชาติ
โดยพลการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายแล้ว ยังเป็นการทำลายป่าไม้และต้นน้ำลำธาร อันเป็นทรัพยากรที่มีค่าของชาตินับเป็นผลเสียต่อความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ
และก่อให้เกิดปัญหาฝนแล้งหรืออุทกภัย ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ส่วนรวมอย่างมากมาย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องเข้าไปช่วยเหลือราษฎรที่ประกอบอาชีพทางเกษตร
แต่ขาดแคลนที่ดินเหล่านั้น ให้ได้รับจัดสรรที่ดินทำกินในขนาดที่เหมาะสมเพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์เกี่ยวกับที่ดินขึ้น เพราะเห็นว่าสหกรณ์
เป็นระบบเศรษฐกิจที่สมาชิกจะได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

สหกรณ์นิคม

             สหกรณ์นิคมเป็นสหกรณ์ประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกับสหกรณ์การเกษตรคือ มีการดำเนินธุรกิจที่ให้บริการแก่สมาชิกคล้ายคลึงกัน เช่น ด้านสินเชื่อจัดหาปัจจัยการผลิต
และสิ่งของที่จำเป็น แปรรูปและส่งเสริมการเกษตรแต่มีส่วนที่แตกต่างกัน คือเรื่องที่ดิน เพราะสหกรณ์การเกษตรมักจัดตั้งในพื้นที่ที่เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเองอยู่แล้ว
จะมีเกษตรกรที่เช่าที่ดินผู้อื่นทำกินบ้างเป็นส่วนน้อย ส่วนในสหกรณ์นิคม รัฐเป็นเจ้าของที่ดินในครั้งแรกแล้วจึงนำไปจัดสรรให้แก่เกษตรกรในภายหลังเหตุที่รัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นในนิคม
เนื่องจากรัฐมีความประสงค์จะส่งเสริมราษฎรที่เข้ามาอยู่ในนิคม ให้มีอาชีพทางการเกษตรที่มั่นคงและมีรายได้สูงขึ้น สามารถดำรงชีพครอบครัวอยู่ได้ตามอัตภาพ และมีสถาบันของตนเอง
ในการเป็นสื่อกลางที่จะให้บริการด้านความสะดวกต่างๆแก่สมาชิกซึ่งทางราชการมีนโยบายที่จะจัดสหกรณ์นิคมให้เป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ดำเนินธุรกิจในรูปอเนกประสงค์โดยมีรัฐ
เป็นพี่เลี้ยงช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้สหกรณ์นั้นดำเนินธุรกิจตามแผนงานและระเบียบข้อบังคับ เพื่อจะได้บังเกิดผลดีแก่สมาชิกหากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบควบคุม


สหกรณ์นิคมคืออะไร
สหกรณ์ภาคการเกษตรในรูปแบบหนึ่งที่มีการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร การจัดสร้างปัจจัยพื้นที่ฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการเกษตร การส่งเสริมอาชีพ 
รวมทั้งกิจกรรมให้บริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิก ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า สหกรณ์นิคม มีงานหลัก 2 งาน คือ

(1) งานจัดที่ดิน

(2) งานจัดสหกรณ์

งานจัดที่ดิน
งานจัดที่ดินเป็นงานที่ดำเนินการโดยรัฐดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่ดินมาปรับปรุงสภาพแล้วจัดสรรให้ราษฎร
ที่ประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกินได้เข้าไปทำกินและอาศัยและจัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ที่ดินและ
ที่อยู่อาศัย เช่น ถนน แหล่งน้ำ โรงเรียน สถานีอนามัย ตลาดฯลฯ เป็นต้น ซึ่งแบ่งขั้นตอนการดำเนินการได้ดังนี้

1. การจัดหาที่ดิน การจัดหาที่ดินมาจัดสรรให้ราษฎรทำการเกษตร โดยวิธีการสหกรณ์นั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ

            1.1 การจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์อาศัยพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เป็นหลักในการปฏิบัติกล่าวคือ
กรมส่งเสริมสหกรณ์จะประสานงานกับคณะกรรมการจำแนกประเภทที่ดิน เพื่อขอรับพื้นที่ที่คณะกรรมการฯ ได้จำแนกไว้เป็นที่จัดสรรเพื่อการเกษตรนำมาจัดสรรให้ราษฎรเข้าทำกิน

            1.2 การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์การเช่าซื้อที่ดิน รัฐจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นทุนจัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาจัดสรรให้ราษฎร โดยคำนึงถึง
ความเดือดร้อนหรือความต้องการของราษฎรและราษฎรดังกล่าว ไม่สามารถจัดซื้อที่ดินด้วยกำลังทรัพย์หรือความสามารถของตนได้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงทำหน้าที่จัดหา
ที่ดินแปลงใหญ่หรือแปลงเล็กแปลงน้อยแต่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน เพื่อนำมาให้สหกรณ์ได้เช่าหรือเช่าซื้อตามกำลังความสามารถของสมาชิกผู้ได้รับจัดสรรการจัดที่ดินลักษณะนี้
อาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในลักษณะของเช่าทรัพย์หรือเช่าซื้อเป็นหลักปฏิบัติ นอกจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว นับแต่ปี2518เป็นต้นมา พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ
พ.ศ.2518 ยังครอบคลุมมาถึงสภาพที่ดินที่รัฐได้มาในลักษณะนี้ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. 2518 ด้วย

            1.3 การจัดที่ดินในรูปสหกรณ์เช่าที่ดิน สืบเนื่องมาจากที่สงวนหวงห้ามของรัฐที่เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ทั้งในสภาพที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือป่าตามมติของคณะรัฐมนตรี
(ป่าเตรียมการสงวน)ถูกรา ษฎรเข้าไปบุกรุกทำกินจนเต็มพื้นที่ และรัฐไม่สามารถฟื้นฟูสภาพป่าให้ คงเดิมได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมป่าไม้จึงเสนอนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อมอบที่ที่มีสภาพดังกล่าวให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการจัดที่ดินให้แก่ราษฎร นำที่ดินไปจัดสรรให้แก่ราษฎร การจัดที่ดินลักษณะนี้ยังคงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507

             อนึ่งตามที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง เพื่อจัดสรรให้แก่ราษฎรทำการเกษตร โดยมีพระราชดำริว่าควรจัดสรร
ให้ราษฎรเช่าและตกทอดทางมรดกไปยังลูกหลานต่อไป เพื่อมิให้การโอนซื้อขายกันจนทำให้ที่ดินตกไปอยู่แก่ผู้ที่มิได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร ที่ดินจำนวนนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์
ได้นำมาจัดสรรให้ราษฎรในรูปสหกรณ์การเช่าที่ดินตามพระราชประสงค์ด้วย

2. การวางผังและปรับปรุงที่ดิน

              ทางราชการจะดำเนินการสำรวจสภาพทั่วๆไปในพื้นที่โครงการที่จะจัดตั้งนิคมสหกรณ์เพื่อที่ให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่สภาพภูมิอากาศแหล่งน้ำ
การคมนาคม ตลอดจนลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับประกอบการพิจารณาจัดตั้งนิคมสหกรณ์และเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาสหกรณ์ต่อไป  เมื่อเห็นว่ามีลู่ทางที่จะปรับปรุงที่ดิน
ดังกล่าวได้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมอีกครั้งหนึ่ง หากเห็นสมควรในการใช้ที่ดิน และการขนส่งสาธารณูปโภค
ควรทำอย่างไรบ้าง บริเวณไหนควรจะปลูกอะไรจึงจะเหมาะสมกับลักษณะและสมรรถนะของดิน ควรจัดสรรที่ดินให้ครอบครัวละกี่ไร่ จึงจะมีรายได้พอแก่การครองชีพ งานต่างๆ
ที่ต้องทำในขั้นนี้เป็นงานด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ที่ดินมากหรือน้อยเกินไปเหล่านี้เป็นต้น เมื่อได้วางแผนผังการใช้ที่ดินแล้ว ทางการดำเนินการสร้างบริการสาธารณะ
ตามผังที่กำหนดไว้ เช่น ถนนการชลประทาน โรงเรียน สถานีอนามัย และรวมถึงการสำรวจแบ่งแปลงที่ดินเพื่อเตรียมไว้จัดสรร

3. การคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดิน

          3.1 การจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์ เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์แล้ว คณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511
มีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกผู้ที่จะเข้าเป็นสมาชิกนิคม โดยยึดหลักเกณฑ์และวิธีการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้กำหนด
คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มีดังนี้

(1) เป็นเกษตรกร บรรลุภาวะ และมีสัญชาติไทย

(2) เป็นผู้ซื่อสัตย์สุจริต และมีความประพฤติดี

(3) ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ

(4) ไม่เป็นบุคคลล้มลาย หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว

(5) มีร่างกายสมบูรณ์ไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพ หรือวิกลจริตจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

(6) ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีเพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพ

(7) ไม่เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์อื่น และสมัครใจเป็นสมาชิก

เมื่อคณะกรรมการคัดเลือกได้คัดเลือกผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์แล้วจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกตามลำดับคะแนนจากสูงไปหาต่ำ โดยถือลำดับก่อนหลังดังต่อไปนี้

(1) มีหลักฐานเกี่ยวกับสิทธิครอบครอง (ส.ค.1) อยู่ในเขตจัดนิคมสหกรณ์และยินยอมเวนคืนที่ดินให้แก่ทางราชการโดยไม่ขอรับเงินค่าชดเชยแต่อย่างใด

(2) บุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัยทำกินอยู่ในที่ดินเขตจัดนิคมสหกรณ์ก่อนวันประกาศรับสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์

(3) บุคคลที่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่อาศัยทำกินในท้องที่จัดนิคมสหกรณ์

(4) บุคคลซึ่งส่วนราชการต่างๆ ส่งมา

(5) บุคคลซึ่งเป็นทหารผ่านศึกหรืออาสาสมัคร

(6) บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ (1)-(5)

             การจัดสมาชิกนิคมสหกรณ์เข้ามาทำกินในที่ดินจัดสรรกรมส่งเสริมสหกรณ์จะเรียกสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้ผ่านการคัดเลือกตามลำดับจากสูงไปหาต่ำ
ตามจำนวนแปลงที่ดินที่สามารถจัดสรรให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ได้โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากที่ดิน
ตามที่พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อครองชีพ พ.ศ.2511 บัญญัติไว้

             3.2 งานที่ดินในส่วนที่รัฐจัดซื้อ ในทางปฏิบัติเมื่อกรมส่งเสริมสหกรณ์จัดซื้อที่ดินมาแล้ว จะมอบให้สหกรณ์ในพื้นที่นั้นๆ ดำเนินการตามกำลังความสามารถของสมาชิก
ซึ่งอาจจัดให้สหกรณ์เช่าหรือซื้อที่ดินราชการหากพื้นที่ที่ดินตั้งอยู่ยังไม่มีการจัดตั้งสหกรณ์กรมส่งเสริมสหกรณ์จะรวบรวมบรรดาผู้ที่ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เช่าที่ดินจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น
ฉะนั้นการคัดเลือกราษฎรเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดินในลักษณะนี้จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับหรือเงื่อนไขของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่กำหนดให้เป็นรายๆ ไป

             3.3 งานจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกเพื่อรับการจัดสรรที่ดินในลักษณะนี้กระทำโดยคณะกรรมการคัดเลือกที่กรมส่งเสริมสหกรณ์แต่งตั้งไว้
โดยสภาพความเป็นจริงพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมส่วนใหญ่ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์รับมาดำเนินการปรากฏว่า มีราษฎรบุกรุกเข้าไปครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว ในทางปฏิบัติกรมส่งเสริมสหกรณ์
จะรวบรวมรายชื่อและรายละเอียดของที่ดินที่ราษฎรเข้าทำมาหากิน กรมส่งเสริมสหกรณ์จะพิจารณาคัดเลือกโดยอาศัยแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคัดเลือกสมาชิสหกรณ์โดยอนุโลม
อนึ่ง เกี่ยวกับการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมนับแต่ปี2522 เป็นต้นมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหลักเกณฑ์การจัดที่ดินเพื่อผ่อนคลายปัญหาของราษฎรผู้บุกรุก
รวมทั้งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการรักษาสภาพป่าให้คงไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ปัจจุบันแนวทางการจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมดังกล่าวต้องปฏิบัติให้
ถูกต้องตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติและนโยบายของรัฐ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงมีนโยบายที่จะปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติโดยเป็นผู้ยื่นขออนุญาตแทนสมาชิกที่ถือครองอยู่
เป็นการนำที่ดินทั้งแปลงมาจัดสรรตามนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ต่อไป

4. การได้สิทธิในที่ดินของสหกรณ์

              4.1 งานจัดที่ดินในรูปของนิคมสหกรณ์ การจัดที่ดินลักษณะนี้กฎหมายมุ่งที่จะให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ ผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน (โฉนดที่ดินหรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว)
หรือสิทธิครอบครอง (น.ส.3) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์นั้นๆ ปฏิบัติครบตามกฎหมายไว้คือ

(1) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ทำประโยชน์ที่ดินแล้ว

(2) เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

(3) ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อย

(4) ชำระหนี้เกี่ยวกับกิจกรรมของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว

                สมาชิกนิคมสหกรณ์ที่ปฏิบัติครบตาม (1)-(4) กรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์นั้นๆ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ
ดำเนินการที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้นั้นก็สามารถนำหลักฐานดังกล่าวไปขอออกโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3ได้ต่อไป อย่างไรก็ตามกฎหมายยังบัญญัติไว้ว่าภายใน 5 ปี
นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือน.ส. 3 ผู้ได้มาซึ่งที่ดินจะโอนที่ดินไปให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ดินที่ตนเป็นสมาชิกอยู่และภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ที่ดินนั้น
ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีด้วย

               4.2 งานจัดที่ดินในส่วนที่รัฐจัดซื้อ  งานจัดที่ดินลักษณะนี้สมาชิกผู้ได้รับจัดสรรจะได้กรรมสิทธิ์หรือไม่ อยู่ที่นโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์และสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิก
อยู่ว่าจะจัดในลักษณะของสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ว่าจะจัดในลักษณะของสหกรณ์ผู้เช่าหรือสหกรณ์ผู้เช่าซื้อที่ดิน

               4.3 งานจัดที่ดินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม งานจัดที่ดินลักษณะนี้สมาชิกผู้ได้เพียงสิทธิทำกินตลอดไปเท่านั้น ทางราชการไม่ให้กรรมสิทธิ์อย่างใด  การจัดตั้งและการดำเนินงาน
เมื่อทางการได้อนุญาตให้ราษฎรที่ได้รับคัดเลือกเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินแล้วก็จะมีการรวบรวมราษฎรที่  ได้รับการจัดสรรที่ดินในโครงการจัดตั้งเป็นสหกรณ์และจดทะเบียน
ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542 เป็นประเภทสหกรณ์นิคม

ban coop011

1. เป็นสื่อกลางในการขอรับหรือบริการต่างๆ จากรัฐบาล

2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับสมาชิกสหกรณ์ในการปฏิบัติตามกฎหมายเช่น เรียกเก็บเงินเพื่อช่วยทุนของรัฐ

3. เพื่อให้เกษตรกรในนิคมมีสถาบันของตนเอง ที่จะจัดทำและอำนวยบริการในด้านต่างๆ เช่น การจัดหาสินเชื่อ

4.การรวมกันซื้อ-ขายการส่งเสริมการเกษตรและการฝึกอบรมซึ่งเป็นการเสริมสร้างให้เกิดระบบที่ดีในการจัดหา การผลิต การตลาด โดยสมาชิกของสหกรณ์นิคมเป็นเจ้าของ
เป็นผู้ดำเนินการและเป็นผู้ประโยชน์ซึ่งจะทำให้สหกรณ์ นิคม สามารถผนึกกำลังประกอบอาชีพอย่างมั่นคง มีรายได้และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 ban coop023

ban coop024

               สถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลทีมีอาชีพอย่างเดียวกันหรืออาศัยในที่ชุมชนเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์
และให้กู้ยืมเงินเมื่อเกิดความจำเป็น หรือเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์งอกเงย 
และได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

ban coop009

             ในภาวะปัจจุบัน ประชาชนประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้ที่มีรายได้น้อยได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่สามารถจะหารายได้เพิ่มให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
และมักจะแก้ไขปัญหาด้วยการกู้ยืมเงินจากนายทุนโดยยอม
เสีย ดอกเบี้ยในอัตราสูง จึงก่อให้เกิดหนี้สินผูกพัน และก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง และครอบครัวภายหลังบุคคลที่
ประสบปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยการรวมกลุ่มกัน จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการสหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ (ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น
“ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร”) จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2492 โดยใช้ชื่อว่า “สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้” ปัจจุบันชื่อว่า “สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัด”


ban coop010

            สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกรู้จักการประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น
โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน จึงเป็นการร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง ดังนี้

(1) การส่งเสริมการออมทรัพย์ เป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ออมทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

             1.1 การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการถือหุ้น สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งชำระค่าหุ้นเป็นประจำทุกเดือนโดนการหักเงินค่าหุ้น ณ ที่จ่ายเงินเดือนและจ่ายเงินปันผลค่าหุ้น
ให้แก่สมาชิกตามอัตราที่พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542 กำหนดไว้เงินปันผลที่ได้รับนี้ไม่ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ และเมื่อสมาชิกลาออกจากสหกรณ์ก็สามารถถอนค่าหุ้นคืนได้

             1.2การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการรับฝากเงิน สหกรณ์มีบริการด้านเงินฝากทั้งประเภทเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์และให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย
ในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์ หรือสูงกว่าตามฐานะของแต่ละสหกรณ์

(2)การให้เงินกู้แก่สมาชิกสหกรณ์ จะนำเงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิกมาหมุนเวียนให้สมาชิกที่มีความจำเป็นหรือเดือดร้อนกู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเอกชน
ลักษณะการให้เงินกู้เงินกู้ที่สหกรณ์จ่ายให้กับสมาชิกมี3 ประเภท คือ

            (1) เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่สมาชิกมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้จากสหกรณ์ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่ง
ของเงินได้รายเดือน แต่จำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์และกำหนดส่งชำระคืนไม่เกิน 2 งวดรายเดือน เงินกู้ประเภทนี้ไม่ต้องมีหลักประกัน

           (2) เงินกู้สามัญ สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้ได้ประมาณ 4-15 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่จะจำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์และกำหนดส่งชำระคืน
ระหว่าง 24-72 งวดรายเดือน และต้องมีสมาชิกด้วยกันค้ำประกันอย่างน้อย1คน การกำหนดวงเงินกู้ฉุกเฉินและสามัญ จะใช้เงินเดือนเฉลี่ยของสมาชิกแต่ละสหกรณ์เป็นฐานในการกำหนด
ตัวอย่าง เช่น สหกรณ์แห่งหนึ่ง สมาชิกมีเงินเฉลี่ย 10,000 บาท/เดือน ขั้นสูงของวงเงินกู้ฉุกเฉินควรเป็น 5,000 บาท ขั้นสูงของวงเงินกู้สามัญ ควรเป็น 40,000-150,000 บาท
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ในการกำหนดระเบียบ

           (3) เงินกู้พิเศษ ถ้าสหกรณ์มีฐานะมั่นคงแล้ว สหกรณ์จะเปิดบริการให้เงินกู้พิเศษเพื่อให้สมาชิกกู้ไปลงทุนในการประกอบอาชีพ หรือกู้ไปเพื่อการเคหะสงเคราะห์เงินกู้
ประเภทนี้สามารถกู้ตามจำนวนเงินที่จะนำไปลงทุนประกอบอาชีพหรือขึ้นอยู่กับราคาของบ้านและที่ดินที่จะซื้อ หรือจำกัดขั้นสูงไว้ตามที่สหกรณ์กำหนดไว้เป็นคราวๆไป และกำหนดชำระคืน
ตั้งแต่10-15 ปีโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักจำนองค้ำประกัน

การดำเนินงาน

            สหกรณ์ออมทรัพย์ดำนินการโดยสมาชิก กล่าวคือ เมื่อได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นแล้ว สมาชิกจะเลือกตั้งตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ให้เข้ามาบริหารงาน
ในสหกรณ์ตัวแทนสมาชิกเหล่านี้เรียกว่า“คณะกรรมการดำเนินการ” มีประมาณ 7-15คน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์นั้นๆคณะกรรมการดำเนินการจะทำหน้าบริหาร
กิจการสหกรณ์โดยจะมีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดนโยบายในการทำงาน แล้วจึงมอบให้“ฝ่ายจัดการ” รับไปปฏิบัติงานต่อไป ฝ่ายจัดการนั้นประกอบด้วย
ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ สมุห์บัญชีเจ้าหน้าที่การเงินฯลฯซึ่งทำหน้าที่บริการแก่สมาชิกที่มาติดต่อทำธุรกิจกับสหกรณ์

ทุนดำเนินงานของสหกรณ์

1. เงินค่าหุ้น

2. เงินรับฝากจากสมาชิก

3. ทุนสำรองและทุนสะสมอื่นๆ

4. เงินกู้ยืม

5. เงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค

การสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์

           การเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มี  2 วิธีคือ

(1) กรณีในหน่วยงานหรือชุมชนที่มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์แล้ว ท่านที่มีความประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกระทำได้โดยการยื่นใบสมัครต่อสหกรณ์
เพื่อสหกรณ์จะนำใบสมัครของท่านเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์พิจารณารับเข้าเป็นสมาชิก เมื่อคณะกรรมการดำเนินการรับท่านเป็นสมาชิกแล้ว ท่านจะต้องชำระเงิน
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ประมาณ 20-50 บาท ชำระค่าหุ้นประมาณ 4-5 % ของเงินรายได้และลงรายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก จากนั้นท่านจะมีสิทธิในสหกรณ์เช ่นเดียวกับสมาชิกคนอื่นๆ
สหกรณ์จะจ่ายเงินปันผลตามหุ้นให้แก่ท่าน เป็นประจำทุกปีและเมื่อท่านลาออกจากการเป็นสมาชิกภาพ ท่านสามารถถอนค่าหุ้นคืนทั้งหมดได้ส่วนค่าธรรมเนียม
แรกเข้าสหกรณ์จะไม่จ่ายคืนให้เพราะถือเป็นราบได้ของสหกรณ์อย่างหนึ่ง

(2) กรณีในหน่วยงานหรือชุมชนที่ยังไม่มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ ท่านที่สนใจในกิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์และมีความประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์
ขึ้นในหน่วยงานหรือชุมชนของท่าน ก็สามารถรวมตัวกัน จัดตั้งสหกรณ์ได้โดยขอคำแนะนำและสอบถามรายละเอียดได้จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์
กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 และพื้นที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในส่วนภูมิภาค

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

               สหกรณ์เป็นของสมาชิกและสมาชิกทุกคนมีบทบาทที่จะควบคุมการบริหารงานของสหกรณ์โดยใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก ให้ถูกต้องและสม่ำเสมอการร่วมประชุมใหญ่
เป็นทั้งสิทธิและหน้าที่อ้นสำคัญยิ่งของสมาชิกทุกคนควรจะต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ซึ่งเป็นโอกาสที่สมาชิกจะแสดงบทบาทรักษาสิทธิและปกป้องคุ้มครองผล
ประโยชน์ของตน ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินงาน การจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยุติธรรม กำหนดนโยบายการดำเนินงานรวมทั้งคัดเลือกกรรมการดำเนินการ
ที่มีความสามารถและมอบภารกิจในการดำเนินการต่อไปใน แนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อมวลสมาชิกเสริมสร้างความเจริญมั่นคงให้กับสหกรณ์ โดยสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทุกคนจะ
ต้องร่วมกันอภิปราบปัญหาแสดงความคิดเห็น ออกเสียงและยอมรับมติของที่ประชุม ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับและระเบียบ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ โดยร่วมกันพิจารณา ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้

ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์

ด้านการเงิน

             (1) เมื่อชำระเงินแก่สหกรณ์ต้องชำระต่อเจ้าหน้าที่การเงินที่สหกรณ์แต่งตั้งไว้เท่านั้น และต้องเรียกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง เช่น การชำระหนี้ก่อนกำหนด การถือหุ้นเพิ่ม

             (2) ควรเก็บใบเสร็จรับเงินทุกฉบับไว้จนกว่าจะได้สอบทานหนี้สินและเงินค่าหุ้นให้ถูกต้องตรงกันเป็นประจำทุกปี

             (3) ควรมารับเงินที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าจำเป็นควรมอบฉันทะแก่ผู้ที่ไว้ใจเท่านั้น

             (4) เมื่อรับเงินจากสหกรณ์ทุกครั้ง ควรตรวจนับจำนวนเงินให้ถูกต้องก่อนออกจากสหกรณ์ไป

             (5) การนำเงินมาฝากกับสหกรณ์สมาชิกต้องยื่นใบฝากเงินพร้อมกับสมุดคู่ฝาก เมื่อรับสมุดคืนให้ตรวจสอบรายมือชื่อผู้มีอำนาจกำกับในสมุดคู่ฝากทุกครั้ง และไม่ควรฝากสมุดคู่ฝากไว้กับพนักงานสหกรณ์

ด้านสินเชื่อ

              (1) ควรกู้เงินจากสหกรณ์ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ และกู้ในจำนวนที่ต้องการใช้เท่านั้น

              (2) จะค้ำประกันใครต้องตัดสินใจให้ดีเพราะถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ผู้ครับประกันจะต้องชำระหนี้แทนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง

              (3) ในกรณีที่สมาชิกสหกรณ์ต้องการรับเงินกู้เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนให้สมาชิกรับเงินดังกล่าวที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าหากจำเป็นให้ทำหนังสือมอบฉันทะโดยมีผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์ด้วย

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ban coop025

ban coop009

          ประเทศไทยได้เริ่มจัดตั้งร้านสหกรณ์เมื่อปีพ.ศ. 2480 โดยตั้งขึ้นในหมู่ชาวชนบทของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ร้านสหกรณ์แห่งนี้ต้องเลิกล้ม
ต่อมาได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์เพิ่มขึ้นอีกหลายๆ แห่ง  กรมส่งเสริมสหกรณ์มีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนจัดตั้งร้านสหกรณ์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และแนะนำส่งเสริม
ให้ร้านสหกรณ์ทุกจังหวัดขยายสาขาไปยังอำเภอต่างๆ อย่างทั่วถึง โดยให้ความช่วยเหลือแก่ร้านสหกรณ์ที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถดำเนินงานให้บริการสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีปริมาณธุรกิจเพียงพอ และมีฐานะมั่นคง พร้อมกันนั้นก็จะช่วยให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสหกรณ์ทุกประเภท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอันที่จะดำเนินธุรกิจ
เกื้อกูลซึ่งกันและกัน  อนึ่งร้านสหกรณ์ที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จมักจะเป็นร้านสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในตัวเมืองซึ่งประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และร้านสหกรณ์ที่ตั้งขึ้น
ในหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน สำหรับร้านสหกรณ์ในชนบทนั้นมักดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ban coop010

           ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ร้านสหกรณ์คือ สหกรณ์ที่ผู้บริโภครวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคและรวบรวมผลิตผลผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายแก่สมาชิก
และส่งเสริมความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ร้านสหกรณ์โดยทั่วไปจึงมักกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานไว้ดังต่อไปนี้

(1) จัดหาสิ่งของและบริการที่สมาชิกมีความต้องการมาจำหน่าย

(2) รวบรวมผลิตผล ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกมาจำหน่าย

(3) ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางสหกรณ์ให้แก่สมาชิก

(4) ส่งเสริมสมาชิกให้รู้จักการประหยัด การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการช่วยตนเอง

(5) ร่วมมือกับสหกรณ์และสถาบันอื่นทั้งภายในและภายนอกประเทศในอันที่จะเกื้อกุลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

(6) ดำเนินธุรกิจอย่างอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น

ลักษณะการดำเนินธุรกิจ


การบริหารธุรกิจหรือกิจการการของร้านสหกรณ์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับสหกรณ์ประเภทอื่นๆ คือ ตั้งอยู่บน
รากฐานของประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของร้านสหกรณ์แต่สมาชิกทุกคนจะร่วมกันบริหารกิจการของร้าน
สหกรณ์ทั้งหมดไม่ได้จึงจ�ำเป็นต้องเลือกตั้งผู้แทนบริหารกิจการแทน เรียกว่า “คณะกรรมการด�ำเนินการ” ซึ่งมีจ�ำนวน
เท่าที่ก�ำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ตามปกติจะมีจ�ำนวนระหว่าง 10-15 คน โดยค�ำนึงถึงความเหมาะสมตามขนาด
และปริมาณธุรกิจของแต่ละสหกรณ์
คณะกรรมการด�ำเนินการมีอ�ำนาจหน้าที่เป็นผู้ด�ำเนินกิจการ และเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการทั้งปวง
คณะกรรมการด�ำเนินการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนปฏิบัติ
หน้าที่ในทางอันสมควร เพื่อให้เกิดผลดีแก่ร้านสหกรณ์และแก่สมาชิก
แม้ว่าคณะกรรมการด�ำเนินการจะเป็นผู้ด�ำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ก็ตาม แต่เพื่อให้กิจการของสหกรณ์ด�ำเนินไป
อย่างกว้างขวาง ให้บริการแก่สมาชิกและบุคคลผู้สนใจทั่วไปอย่างทั่วถึงคณะกรรมการดำ� เนินการควรจัดจ้างผู้จัดการที่มี
ความรู้ความสามารถในเชิงการค้าและมีความซื่อสัตย์สุจริตมาด�ำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์นอกจากนี้ผู้จัดการอาจจัดจ้าง
เจ้าหน้าที่ของร้านสหกรณ์ในด้านต่างๆ ตามความเหมาะสมโดยค�ำนึงถึงปริมาณธุรกิจและการประหยัดเป็นส�ำคัญ
ร้านสหกรณ์ควรด�ำเนินการค้ากับลูกค้าทั้งที่เป็นสมาชิกและมิใช่สมาชิกโดยยึดถือกฎของผู้น�ำแห่งรอชเดล ดังต่อไปนี้
(1) ขายสินค้าตามราคาตลาดหรือถูกกว่าบ้างเล็กน้อย เพื่อมิให้เป็นศัตรูกับร้านใกล้เคียง
(2) จัดหาสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่มาจ�ำหน่ายและไม่ปลอมปนสินค้า
(3) เที่ยงตรงในการชั่ง ตวง วัด
(4) จัดซื้อสินค้าที่จ�ำเป็นแก่การครองชีพประจ�ำวันมาจ�ำหน่ายให้มากชนิด เพื่อให้สมาชิกเลือกซื้อได้ตามความ
ต้องการ
(5) ขายสินค้าด้วยเงินสด เพื่อช่วยให้ร้านสหกรณ์มีเงินหมุนเวียนได้คล่องตัว และช่วยให้สมาชิกใช้จ่ายเงินโดยมี
เหตุผลเพื่อป้องกันหนี้สูญ