เกี่ยวกับนิคมสหกรณ์
ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์พร้าว
โครงสร้างและอัตรากำลัง
ทำเนียบบุคลากร
แผนปฏิบัติงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 | ||
นิคมสหกรณ์พร้าว สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ | ||
แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน | ||
ผลผลิต สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็งตามศักยภาพ |
||
กิจกรรมหลัก การพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสาร /ACTION PLAN | ||
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (3 เดิอน) | ||
- นิคมสหกรณ์พร้าว | ||
กิจกรรมหลัก ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร | |
กิจกรรมรอง ออกหนังสือรับรองการทาประโยชน์ในที่ดินพื้นที่นิคมสหกรณ์ / ACTION PLAN |
ผลผลิต/โครงการ สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง
|
||||||
กิจกรรมหลักพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||||||
กิจกรรมรองส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ | ||||||
|
||||||
กิจกรรมหลัก นำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร |
สารสนเทศของนิคมสหกรณ์
สารสนเทศของสหกรณ์ในเขตนิคมสหกรณ์
ข้อมูลรายงานกิจการประจำปีสหกรณ์นิคมพร้าว จำกัด
สำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสหกรณ์ : สหกรณ์นิคมพร้าว จำกัด ประเภท : สหกรณ์นิคม
ที่อยู่ : 18 หมู่ที่ 10 ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190
หมายเลขโทรศัพท์ : 053-017130 หมายเลขโทรสาร : -
E-mail Address : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Website URL : -
จดทะเบียนเมื่อวันที่ : 29 เดือน กันยายน พ.ศ. 2520 ทะเบียนเลขที่ : กสน.53/2520
วันสิ้นปีทางบัญชี วันที่ : 31 เดือน ธันวาคม ของทุกปี
ข้อมูลบริหารจัดการ
1. จำนวนกลุ่มสมาชิก 32 กลุ่ม
2. จำนวนสมาชิก : เป็นชาย 3,571 ราย เป็นหญิง 1,808 ราย รวมสมาชิกทั้งสิ้น 5,397 ราย
3. จำนวนสมาชิกสบทบ : สมทบชาย - ราย สมทบหญิง - ราย รวมสมาชิกสมทบทั้งสิ้น - ราย
4. มาตรฐานสหกรณ์ : ระดับดี (C)
5. การจัดระดับชั้นสหกรณ์ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็ง ผลการจัดระดับ : ชั้น 2
6. คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 11 คน
7. ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 3 คน
8. เจ้าหน้าที่สหกรณ์ จำนวน 10 คน
ข้อมูลสถานภาพทางการเงิน
1. งบการเงิน
- สินทรัพย์ จำนวน 43,384,070.48 บาท
- หนี้สิน จำนวน 98,288,395.86 บาท
- ทุน จำนวน 43,384,070.48 บาท
2. งบกำไรขาดทุน
- ขาดทุนสุทธิ (2,248,356.50) บาท
ข้อมูลธุรกิจหลัก
ธุรกิจรับฝากเงิน ปริมาณธุรกิจ 27,257,080.00 บาท
ธุรกิจสินเชื่อ ปริมาณธุรกิจ 2,040,641.52 บาท
ธุรกิจรวบรวมผลผลิตสมาชิก ปริมาณธุรกิจ (165,547.57) บาท
ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (ปัจจัยการผลิต) ปริมาณธุรกิจ 129,430.68 บาท
ธุรกิจแปรรูป ปริมาณธุรกิจ 134,880.86 บาท
ข้อมูลสมาชิกที่ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์
สมาชิกทั้งหมดที่ร่วมทำธุรกิจ กับสหกรณ์ จำนวน 4,710 ราย แบ่งเป็น
ธุรกิจรับฝากเงิน จำนวน 4,710 ราย
ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 765 ราย
ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย จำนวน 100 ราย
ธุรกิจรวบรวม จำนวน 160 ราย
ธุรกิจบริการ จำนวน 30 ราย
สินค้าและบริการหลัก
ธุรกิจสินเชื่อ, จัดหาสินค้ามาจำหน่าย รวบรวมผลผลิตจากสมาชิก (ข้าวเปลือก)
ข้อมูลรายงานกิจการประจำปีสหกรณ์นิคมเกษตรกรก้าวหน้าพร้าวจำกัด
สำหรับปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2564
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อสหกรณ์ : สหกรณ์นิคมเกษตรกรก้าวหน้าพร้าวจำกัด ประเภท : สหกรณนิคม
ที่อยู่ : 4 หมู่ที่ 8 ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190
หมายเลขโทรศัพท์ : 081-7469464 หมายเลขโทรสาร : -
E-mail Address : - Website URL :
จดทะเบียนเมื่อวันที่ : 19 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ทะเบียนเลขที่ : กสน.22/2531
วันสิ้นปีทางบัญชี วันที่ : 31 เดือน มีนาคม ของทุกปี
ข้อมูลบริหารจัดการ
1. จำนวนกลุ่มสมาชิก 1 กลุ่ม
2. จำนวนสมาชิก : เป็นชาย 38 ราย เป็นหญิง 8 ราย รวมสมาชิกทั้งสิ้น 46 ราย
3. จำนวนสมาชิกสบทบ : สมทบชาย - ราย สมทบหญิง - ราย รวมสมาชิกสมทบทั้งสิ้น - ราย
4. มาตรฐานสหกรณ์ : ระดับดี (B)
5. การจัดระดับชั้นสหกรณ์ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็ง ผลการจัดระดับ : ชั้น 2
6. คณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 7 คน
7. ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน 1 คน
8. เจ้าหน้าที่สหกรณ์ จำนวน - คน
ข้อมูลสถานภาพทางการเงิน
1. งบการเงิน
- สินทรัพย์ จำนวน 1,303,393.97 บาท
- หนี้สิน จำนวน 264,353.91 บาท
- ทุน จำนวน 1,039,040.06 บาท
2. งบกำไรขาดทุน
- ขาดทุนสุทธิ 236,927.80 บาท
ข้อมูลธุรกิจหลัก
- ธุรกิจรับฝากเงิน ปริมาณธุรกิจ 96,856.58 บาท
- ธุรกิจสินเชื่อ ปริมาณธุรกิจ 624,791 บาท
ข้อมูลสมาชิกที่ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์
สมาชิกทั้งหมดที่ร่วมทำธุรกิจ กับสหกรณ์ จำนวน 46 ราย แบ่งเป็น
1. ธุรกิจรับฝากเงิน จำนวน 46 ราย
2. ธุรกิจสินเชื่อ จำนวน 20 ราย
สินค้าและบริการหลัก
ธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจสินเชื่อ
สารสนเทศของกลุ่มอาชีพในเขตนิคมสหกรณ์
- ไม่มีกลุ่มอาชีพ -
การออกเอกสารสิทธิที่ดิน
การออกหนังสืออนุญาติให้ทำประโยชน์ (กสน.3)
พื้นที่โครงการ 6 แปลง 67,082 ไร่
พื้นที่จัดสรรในเขตนิคมสหกรณ์พร้าวทั้งสิ้น 50,000 ไร่
พื้นที่จัดสรรไม่ได้ 17,082 ไร่
ผลออกหนังสืออนุญาติให้ทำประโยชน์ (กสน.3) ทั้งสิ้น 49,763-2-80 ไร่ พื้นที่คงเหลือ 237 ไร่
การออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5)
พื้นที่โครงการ 6 แปลง 67,082 ไร่
พื้นที่จัดสรรในเขตนิคมสหกรณ์พร้าวทั้งสิ้น 50,000 ไร่
พื้นที่จัดสรรไม่ได้ 17,082 ไร่
ผลออก หนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ทั้งสิ้น 49,286-1-81 ไร่ พื้นที่คงเหลือ 714 ไร่
ขั้นตอนการจัดตั้งนิคมสหกรณ์
ขั้นตอนในการดำเนินการจัดตั้งนิคมสหกรณ์
การจัดที่ดินในรูปนิคมสหกรณ์
(1) การจัดหาที่ดิน
กรมส่งเสริมสหกรณ์ จะขอรับที่ดินที่รัฐได้จำแนกออกมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรมจากคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ซึ่งการที่จะขอรับที่ดินแปลงใดมาจัดสรรนั้น ต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่มีจำนวนมากพอสมควร ที่ดินที่มีความสมบูรณ์พอที่จะปรับปรุงให้เหมาะสมแก่การทำการเพาะปลูกโดยจะจัดทำโครงการจัดนิคมสหกรณ์เสนอขอรับที่ดินจากคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะต้องดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งนิคมสหกรณ์ในพื้นที่แปลงนั้น
(2) การออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์
เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีนโยบายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดที่ดินนิคมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินการประสานงานกับส่วนราชการอื่นที่ดูแลที่ดินของทางราชการที่จัดนิคมสหกรณ์ และหน่วยงานนั้นได้ยินยอมมอบที่ดินให้กรมส่งเสริมสหกรณ์นำไปจัดตั้งนิคมสหกรณ์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องเสนอพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งนิคมสหกรณ์ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและลงมติเห็นชอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์นำที่ดินมาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์จะต้องกำหนดท้องที่ตำบล อำเภอ จังหวัด และจำนวนเนื้อที่ที่จัดตั้งนิคมสหกรณ์ และมีแผนที่กำหนดแนวเขตที่ดินท้ายพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งนิคมสหกรณ์นั้นด้วย
(3) การสำรวจและการจัดทำแผนที่วงรอบกำหนดแนวเขตที่ดินของนิคมสหกรณ์
เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งนิคมสหกรณ์แล้ว กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องดำเนินการสำรวจ รังวัด กำหนดแนวเขตที่ดินของนิคมสหกรณ์ เพื่อให้ทราบแนวเขตที่ดินของนิคมสหกรณ์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ว่ามีแนวเขตที่ดินอยู่ที่จุดใดและตั้งแต่ที่ใดถึงที่ใดเป็นไปตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์หรือไม่ เพื่อสะดวกในการจัดสมาชิกนิคมสหกรณ์เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงและตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งนิคมสหกรณ์ให้ทำการจัดนิคมสหกรณ์ได้เป็นไปโดยถูกต้องและเกิดประโยชน์แก่การจัดนิคมสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และเกิดประโยชน์แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์ ถ้าตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่าเนื้อที่ดินที่มีอยู่ตามความจริงไม่ถูกต้องตามพระราชกฤษฎีการการจัดตั้งนิคมสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องดำเนินการแก้ไขโดยวิธีหนึ่งวิธีใดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงและถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหาในการจัดนิคมสหกรณ์ต่อไป
(4) การสำรวจแบ่งแปลงที่ดิน
เมื่อกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดทำการรังวัดกำหนดแนวเขตที่ดินของนิคมสหกรณ์ให้ถูกต้องตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์แล้ว กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องทำการสำรวจ รังวัด และทำแผนที่ จัดแบ่งแปลงพื้นที่ในเขตนิคมสหกรณ์ เพื่อกำหนดให้สมาชิกนิคมสหกรณ์เข้าทำประโยชน์ การจัดรังวัดทำแผนที่แบ่งแปลง เพื่อให้สมาชิกนิคมสหกรณ์เข้าทำประโยชน์นั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามความเป็นจริงกับที่ดินของนิคมสหกรณ์ที่มีอยู่และแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์ได้กำหดไว้ เพื่อป้องกันปัญหาการครอบครองหรือการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของสมาชิกนิคมสหกรณ์ มิให้ซ้ำซ้อนในที่ดินแปลงเดียวกัน
กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องดำเนินการจัดทำแผนผังแบ่งที่ดินซึ่งแสดงเขตที่ดินที่จัดแบ่งให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ไว้ในแผนผังจัดแบ่งที่ดินสหกรณ์ และต้องทำประกาศแผนผังการจัดที่ดินนิคมสหกรณ์ไว้ ณ ที่ทำการนิคมสหกรณ์
การวางผังและการพัฒนาที่ดิน การจัดสรรที่ดินให้กับราษฎร โดยวิธีการสหกรณ์ได้เน้นการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและการประกอบอาชีพการเกษตร การวางผังการใช้ที่ดิน การปรับปรุงและการพัฒนาที่ดิน และการวางแผนการประกอบการเกษตร จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การกำหนดเขตชุมชนอยู่อาศัย การกำหนดเขตเกษตรกรรม การแบ่งแปลงที่ดิน การจัดสร้างปัจจัยอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ระบบชลประทาน โรงเรียน สถานีอนามัยและอื่น ๆ การศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดสรรแบ่งแปลงที่ดินให้ครอบครัวละไม่เกิน 50 ไร่ เพื่อให้มีรายได้พอแก่การครองชีพ เมื่อสมาชิกมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพ และสามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ก็จะเป็นการป้องกันสมาชิกนิคมสหกรณ์ไม่ให้ทิ้งที่ดินทำกินเขตนิคมสหกรณ์ไปประกอบอาชีพในที่แห่งอื่น ปัจจัยในการพัฒนาที่ดินและส่งเสริมการเลี้ยงชีพให้ถูกหลักการและวิชาการเป็นปัจจัยสำคัญที่ทางราชการจะต้องให้ความสนใจและให้การส่งเสริมมาก
(5) การจัดราษฎรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์
กรมส่งเสริมสหกรณ์จะต้องจัดบุคคลเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์ให้ถูกต้องตามจำนวนที่ดินที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์และแผนที่แบ่งแปลงที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ประกาศไว้ และจะต้องจัดราษฎรที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์เท่าจำนวนที่ดินที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ไม่จำเป็นต้องจัดให้หมดเนื้อที่
ราษฎรที่จะเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์จะต้องผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการ การคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 4 คน ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 454/2518 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2518 โดยแต่งตั้งนายอำเภอท้องที่ที่จัดตั้งนิคมสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ นักวิชาการสหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์แต่งตั้ง 2 คน เป็นกรรมการ หัวหน้าหน่วยนิคมสหกรณ์ที่ดำเนินการจัดนิคมสหกรณ์เป็นกรรมการและเลขานุการ
การกำหนดให้มีคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ เพื่อให้การคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดและคณะกรรกมารคัดเลือกจะต้องให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลทุกคนที่สมัคร เพื่อจะได้รับการคัดเลือกเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์
สำหรับผู้ที่จะเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) มีสัญชาติไทย
2) มีความประพฤติดีและเต็มใจปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด
3) ขยันขันแข็ง มีร่างกายสมบูรณ์ และสามารถประกอบอาชีพได้
4) ไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีแต่เพียงเล็กน้อย ไม่พอแก่การครองชีพ
6) มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
ผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และเข้าทำประโยชน์ที่ดินของนิคมสหกรณ์ได้ต่อเมื่อ
1) ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้เข้าทำประโยชน์ตามจำนวนที่ดินที่อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด (ครอบครัวละไม่เกิน 50 ไร่)
2) ผู้ที่เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์จะต้องดำเนินการรวมกันจัดตั้งสหกรณ์และจดทะเบียนมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามพระราชบัญญัติสหกรณ์
3) ต้องดำเนินธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่ได้จัดตั้งขึ้น
(6) การจัดที่ดินเพื่อประโยชน์สาธารณะ
เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของสมาชิกนิคมสหกรณ์หรือบุคคลทั่วไป กำหนดผังหมู่บ้าน ที่สาธารณประโยชน์ ที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีอนามัย โรงเรียน วัด เป็นต้น พร้อมกันที่ดินไว้เป็นป่าไม้ส่วนกลางเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดินเพื่ออนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธาร
(7) การส่งเสริมและพัฒนาปรับปรุงดิน
กรมส่งเสริมสหกรณ์จะพัฒนาปรับปรุงดินให้เหมาะแก่การอยู่อาศัยและประกอบอาชีพการเกษตร มีการจัดระบบชลประทาน เพื่อเน้นหนักในการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับส่งเสริมสหกรณ์ให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นโดยวิธีการสหกรณ์เป็นเครื่องมือช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ และส่งเสริมสมาชิกนิคมสหกรณ์ประกอบอาชีพให้ถูกหลักวิชาการตลอดทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคมเพื่อยกระดับฐานะและความเป็นอยู่ในอยู่สมาชิกด้วยกันให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น
(8) การจัดปัจจัยพื้นฐาน
กรมส่งเสริมสหกรณ์จะก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นต่าง ๆ ให้กับราษฎรในพื้นที่ ได้แก่ ถนน สะพาน ท่อลอด และพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นต้น ตลอดทั้งการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการอยู่อาศัย และการใช้ที่ดิน รวมทั้งดำเนินการจัดสาธารณูปโภค โดยให้มีมาตรฐานเทียบได้กับชุมที่ใกล้เคียงที่ทางราชการจัดให้หรือตามสมควรแก่สภาพท้องที่นั้น ๆ โดยประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ในการบริการด้านสาธารณประโยชน์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิกนิคมสหกรณ์ หรือสมาชิกนิคมสหกรณ์ภายในเนื้อที่เขตจัดนิคมสหกรณ์
(9) การส่งเสริมสหกรณ์
สมาชิกนิคมสหกรณ์ที่ได้รับจัดสรรที่ดิน จะต้องรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์จัดตั้งขึ้นจะเป็นสถาบันของสมาชิกในการดำเนินธุรกิจช่วยเหลือสมาชิกท้างก้านการผลิตและการตลาด ตลอดจนเป็นองค์กรท้องถิ่นรองรับการช่วยเหลือต่าง ๆ จากทางราชการไปสู่สมาชิกนิคมสหกรณ์
(10) การเรียกเก็บเงินค่าช่วยทุนรัฐบาล
สมาชินิคมสหกรณ์ที่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์แล้ว เมื่อมีรายได้เพียงพอแก่การครองชีพของตนเองและครอบครัวแล้ว สมาชิกนิคมสหกรณ์จะต้องช่วยทุนของทางราชการที่ได้ลงทุนไปแล้ว เพื่อทางราชการจะนำเงินดังกล่าวไปปรับปรุงที่ดินของนิคมสหกรณ์ สำหรับอัตราค่าช่วยทุนนี้ถูกกำหนดโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ ดังนี้ ค่าช่วยทุนรัฐบาลไม่เกินไร่ละ 200 บาท โดยผ่อนชำระเป็นรายปีปีหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ ทั้งนี้จะเริ่มชำระงวดแรกอย่างช้าในปีที่ 5 นับแต่ปีที่ได้เข้าเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์ อย่างไรก็ตามหากปีใดสมาชิกไม่สามารถชำระค่าช่วยทุนดังกล่าวได้ โดยมีเหตุผลอันสมควร ให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ทำเป็นหนังสือขอผ่อนผันต่ออธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อพิจารณาเหตุผลการขอผ่อนผัน เมื่ออธิบดีเห็นสมควร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์จะผ่อนผันให้ชำระค่าช่วยทุนรัฐบาลในปีถัดไปก็ได้
(11) การออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์
กรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1) ได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว
2) เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มาแล้วเป็นเวลาเกินกว่าห้าปี
3) ได้ชำระเงินช่วยทุนรัฐบาลที่ได้ลงไปแล้ว และชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมสหกรณ์ให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว
เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ดำเนินการตามข้อ 1 – 3 เรียบร้อยแล้ว กรมส่งเสริมสหกรณ์ก็จะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือแสดงว่าสมาชิกผู้นั้นได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์
(12) การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดิน
เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์จากกรมส่งเสริมสหกรณ์แล้ว และต้องได้รับความเห็นชอบจากสหกรณ์นิคมให้นำไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินในนิคมสหกรณ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน แล้วจึงขอยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาหรือสำนักงานที่ดินอำเภอแล้วแต่กรณี ก็จะดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้กับสมาชิกนิคมสหกรณ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป
กฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์
กฤษฎีกาจัดตั้งนิคมสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เสื่อมโทรมจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 14 ป่า เนื้อที่ประมาณ 1.5 ล้านไร่ เพื่อดำเนินการจัดที่ดินให้แก่ราษฎรโดยวิธีการสหกรณ์ ในรูปสหกรณ์การเช่าที่ดิน
2. ผลการตรวจสอบที่ทั้ง 14 ป่า ของกรมป่าไม้พบว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนปากพญา-ปากนคร เป็นพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งสมควรอนุรักษ์ไว้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงมิได้เสนอขออนุมัติเพื่อจัดนิคมสหกรณ์ในพื้นที่ป่าแห่งนี้แต่อย่างใด จึงเหลือเพียง 13 ป่า รวมเนื้อที่ประมาณ 1.4 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวไม่มีสภาพป่าเหลืออยู่และไม่สามารถฟื้นฟูสภาพป่าให้กลับสู่สภาพเดิมได้ ประกอบกับราษฎรได้อาศัย ทำกินปลูกบ้านเรือนอยู่อาศัยในลักษณะถาวรแล้ว
3. พื้นที่ 13 ป่า ที่ขออนุมัติจัดตั้งนิคมสหกรณ์มีการทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจะต้องดำเนินการออกกฎกระทรวงเพื่อเพิกถอนสภาพป่าสงวนแห่งชาติต่อไป โดยขั้นตอนในการดำเนินการต่าง ๆ จะไม่ก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างกฎหมายแต่อย่างใด และปัจจุบันกรมอุทยานฯ อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเพื่อเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติแล้ว
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
1. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอด่านช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช และอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
2. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอลานสัก และอำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี
3. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอชัยบาดาล และอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
4. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
5. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
6. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอวังทอง และอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
7. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร และอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
8. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอแม่แจ่ม และอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
9. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอสูงเนิน และอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา
10. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอสตึก และอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
11. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
12. จัดตั้งนิคมสหกรณ์ ในท้องที่อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กรกฎาคม 2547
ที่ตั้งนิคมสหกรณ์
ที่ตั้งสำนักงาน นิคมสหกรณ์พร้าว
254 หมู่ 10 ตำบลแม่เวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 50190 053-475496
อีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
ข่าวกิจกรรม
โครงการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับบุตร-หลานของสมาชิกสหกรณ์ ปีการศึกษา 2565
ประกาศสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง การใช้ประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ (ลว 3/11/64)
Mobile Application “Smart Coop”
พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511
ระเบียบกรมส่งเสริมสหกรณ์ ว่าด้วยการบริหารจัดการนิคมสหกรณ์ พ.ศ.2561 / ฉบับที่2 พ.ศ.2562
ประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้เงินรายได้ของนิคมสหกรณ์ (ลว.12/02/63)
คำสั่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ 279/2564 เรื่อง มอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เกี่ยวกับเงินรายได้ของนิคมสหกรณ์ (ลว.30/06/64)
คำสั่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ เรื่อง มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (ลว.30/10/62)
มาตรการควบคุมพื้นที่และกำกับดูแลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(โควิด19)
ประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์ พฤติกรรมที่รับไม่ได้ของข้าราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์
ประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์ เรื่อง การยกเลิกสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน พ.ศ.2561 คลิกดูรายละเอียด