สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครนายก
Toggle Navigation
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับหน่วยงาน
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
    • โครงสร้างและอัตรากำลัง
    • อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
    • ทำเนียบบุคลากร
      • ฝ่ายบริหารทั่วไป
      • กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์
      • กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์
      • กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์
      • กลุ่มตรวจการสหกรณ์
      • กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 1
      • กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2
    • ที่ตั้งสำนักงาน
    • แผนงาน/โครงการ และงบประมาณ
      • ปฏิทินงาน ปี 2566
      • แผนงานประจำปี
      • การใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
      • ผลการปฏิบัติงานประจำปี
      • กรอบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน
    • ข่าวกิจกรรมทั้งหมด
  • ข้อมูลสารสนเทศ
    • รองนายทะเบียนสหกรณ์
    • ผู้ตรวจการสหกรณ์
    • ผู้สอบบัญชีสหกรณ์
    • ผู้ชำระบัญชี
    • สารสนเทศของสหกรณ์
    • สารสนเทศของกลุ่มเกษตรกร
    • สารสนเทศของกลุ่มอาชีพ
    • กองทุนพัฒนาสหกรณ์
    • สหกรณ์ในโครงการพระราชดำริ
  • ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์
    • ประวัติพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
    • ประวัติการสหกรณ์
    • ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย
    • ความหมายของสหกรณ์
    • ประเภทของสหกรณ์
    • คุณค่าสหกรณ์
    • อุดมการณ์สหกรณ์/หลักการสหกรณ์/วิธีการสหกรณ์
    • ร่างระเบียบข้อบังคับสหกรณ์
    • ขั้นตอนการขอจัดตั้งสหกรณ์
    • ข้อเปรียบเทียบระหว่างสหกรณ์กับองค์กรธุรกิจรูปอื่น
    • การกำหนดจรรยาบรรณของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์
  • กฎหมายสหกรณ์
  • บริการของเรา
    • ขั้นตอนการจัดตั้งสหกรณ์
    • อินโฟกราฟิกบริการประชาชน
      • กรมส่งเสริมสหกรณ์
      • สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครนายก
    • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
    • เอกสารดาวน์โหลด
      • รายงานประจำปี
      • คู่มือสำหรับประชาชน
    • การจัดการองค์ความรู้ (KM)
    • รายงานผลการขับเคลื่อนงาน/โครงการสำคัญ
    • คำถามที่พบบ่อย FAQ
    • แอพพลิเคชั่นกรมส่งเสริมสหกรณ์
  • เรื่องทั่วไป
    • ยุทธศาสตร์
    • กฎเกณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    • ฐานข้อมูลกลาง
    • งานจัดซื้อจัดจ้าง/จัดหาพัสดุ
    • รายงานการประชุมสำนักงาน
    • ITA
    • ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมด
    • ข่าวทั้งหมดของหน่วยงาน
    • ผลงานสำนักงานย้อนหลัง
    • กระดานถาม-ตอบ
    • เรื่องร้องเรียน
      • ช่องทางการร้องเรียน
      • กระบวนการดำเนินการ
    • แผนผังเว็บไซด์
  • ติดต่อเรา

  • ยุทธศาสตร์ของสำนักงานสหกรณ์
  • ยุทธศาสตร์จังหวัดนครนายก
  • ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมสหกรณ์

ยุทธศาสตร์ของสำนักงานสหกรณ์

 1.   ส่งเสริมพัฒนาภาคกาคเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 2.   ส่งเสริมอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
 3.   บริหารจัดการให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ใกล้กรุง
 4.   ส่งเสริมและพัฒนาสู่การเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพ
 

ยุทธศาสตร์จังหวัดนครนายก

        1.   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ส่งเสริมพัฒนาภาคการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาลที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจ และนโยบายที่ 8 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี
        
       (1) เป้าประสงค์
        ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่ผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ตลอดจนปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรดินและน้ำให้เหมาะแก่การเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อให้สามารถลดรายจ่าย และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       (2) ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
       2.1 ร้อยละของจำนวนเกษตรกร/กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการเตรียมความพร้อมตามระบบมาตรฐาน GAP /เป้าหมายร้อยละ 90
       2.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก/เป้าหมายระดับ 4
       2.3 จำนวนที่เพิ่มขึ้นของพื้นที่ทรัพยากรดินและน้ำที่ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู/เป้าหมายปีละ 4,500 ไร่
       2.4 ระดับความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ/เป้าหมายระดับ 4

       (3) แนวทางมาตรการการพัฒนาจังหวัด
       3.1) กลยุทธ์ : พัฒนาการผลิตโดยการจัดระบบการใช้ดินและที่ทำกินในการพัฒนาที่ดินพร้อมสาธารณูปโภคแก่เกษตรกร ส่งเสริมพัฒนาการผลิตทุกสาขาโดยเน้นการผลิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียงในครัวเรือนและภายในชุมชน สนับสนุนกิจกรรมการประกอบอาชีพในชุมชน การแปรรูปสินค้าเกษตร ตามระบบความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) รวมทั้งพัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรดินและน้ำให้เหมาะแก่การเกษตร ส่งเสริมการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพก๊าซชีวภาพในการปรับปรุงดินเพื่อ ลดรายจ่ายของเกษตรกรและเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร ตลอดจนสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ
        3.2) กลยุทธ์ : พัฒนาและวางระบบชลประทานโดยพัฒนาและวางระบบชลประทานให้มีประสิทธิภาพ และกำหนดพื้นที่
เกษตรกรรมที่เหมาะสมกับระบบชลประทาน
        3.3) กลยุทธ์ : ส่งเสริมอาชีพการปลูกป่าเศรษฐกิจโดยส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชนและประชาชนปลูกไม้เศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ดินเปรี้ยวเสื่อมโทรมและทิ้งร้าง รวมถึงพื้นที่ที่ระบบชลประทานยังไม่สามารถเข้าถึง
 
             2.  ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีความเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาลที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายที่ 4 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนโยบายที่ 8 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี
 
           (1) เป้าประสงค์
           อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่เป็นภัยต่อระบบนิเวศ ตลอดจนรักษาคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งรักษาฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น รองรับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

           (2) ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
            2.1 ร้อยละของมาตรการ/กิจกรรมในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ/เป้าหมายร้อยละ80
           2.2 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว/เป้าหมายร้อยละ 4
           2.3 ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด/เป้าหมายระดับ 4
           2.4 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น/เป้าหมายร้อยละ 4
           2.5 ระดับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น/เป้าหมายระดับ 4

          (3)  แนวทางมาตรการการพัฒนาจังหวัด
          3.1) กลยุทธ์ : การรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ โดยการสร้างองค์ความรู้แก่ประชาชน และส่งเสริมชุมชน รวมทั้งองค์กรเครือข่ายภาคเอกชนและประชาชนให้มีส่วนร่วมในการสงวนอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ใช้ประโยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและบริหารจัดการทรัพยากร
          3.2) กลยุทธ์ : การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครอง ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า และหมอกควัน ตลอดจนการป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม การฟื้นฟูสภาพป่าตามแนวพระราชดำริและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งขององค์กรเครือข่ายในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
         3.3) กลยุทธ์ : พัฒนาระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการโดยส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว
         3.4) กลยุทธ์ : พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสินค้าและการบริการ
โดยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิมและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้มีคุณภาพ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณี และพัฒนาการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ท่องเที่ยว ตลอดจนส่งเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว พัฒนากิจกรรมและสินค้าทางการท่องเที่ยว และส่งเสริมให้เป็นศูนย์การอบรมสัมมนา
        3.5) กลยุทธ์ : ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุก
โดยดำ เนินการตลาดเชิงรุกทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์สินค้าทางการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมให้ภาคเอกชนร่วมกันดำเนินการทางการตลาดได้ด้วยตนเอง
        3.6) กลยุทธ์ : ส่งเสริมและพัฒนาการแพทย์แผนไทยเพื่อการท่องเที่ยวโดยจัดบริการและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อการท่องเที่ยว และสร้างกระบวนการเรียนรู้ของบุคลากรโดยการวิจัยและพัฒนา
        3.7) กลยุทธ์ : พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นโดยส่งเสริมด้านวัตถุดิบและการผลิตที่ครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และผลิตภัณฑ์จักรสาน การพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐานทั้งคุณภาพ ความสะอาด ความปลอดภัย ลู่ทางการตลาดและการบริการหลังการขาย ตลอดจนการประหยัดพลังงานในการผลิตสินค้าเพื่อลดรายจ่าย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพเครือข่าย OTOP ระดับต่างๆ และผู้ผลิตสินค้า OTOP เพื่อให้สามารถสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม OTOP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
            3.   ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : บริหารจัดการให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่ใกล้กรุงมีความเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาลที่ 1 นโยบายฟื้นฟูความมั่นคงของประเทศด้านเศรษฐกิจ นโยบายที่ 2 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต นโยบายที่ 3 นโยบายเศรษฐกิจ นโยบายที่ 4 นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนโยบายที่ 8 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี

            (1) เป้าประสงค์
            พัฒนาเมืองเพื่อรองรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การให้เป็นเมืองที่อยู่อาศัยและการลงทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียว การจัดการขยะและของเสีย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานภายใต้การวางและจัดทำผังเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีระบบ รวมทั้งให้ประชาชนได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต การสงเคราะห์ช่วยเหลือ เข้าถึงการบริการภาครัฐที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค และรวดเร็ว มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติราชการ

             (2) ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
             2.1 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของอาหารสด ตลาดสด ร้านอาหารและแผงลอย ที่ผ่านมาตรฐานด้านสาธารณสุข/เป้าหมายร้อยละ 70
             2.2 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการจับกุมผู้กระทำผิด เปรียบเทียบกับจำนวนคดีที่ได้รับแจ้งทั้งหมด ในปีงบประมาณ/เป้าหมายร้อยละ5
             2.3 ร้อยละที่ลดลงของการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก เปรียบเทียบกับจำนวนคดีที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณที่ผ่านมา/เป้าหมายร้อยละ1
             2.4 ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ/เป้าหมายระดับ 4
             2.5 ระดับความสำเร็จในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ/เป้าหมายระดับ 4
             2.6 ร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ/เป้าหมายร้อยละ 80
             2.7 ระดับความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต/เป้าหมายระดับ 4
             2.8 ร้อยละที่ลดลงของจำนวนครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ./เป้าหมายร้อยละ 30
             2.9 ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งที่ผ่านเกณฑ์มีผู้เสพติดไม่เกิน 3 คน ต่อประชาชน1,000 คน/เป้าหมายร้อยละ 90

             (3) แนวทางมาตรการการพัฒนาจังหวัด
             3.1) กลยุทธ์ : พัฒนาระบบผังเมืองและการพัฒนาตามผังเมือง โดยจัดวางและทำผังเมืองรวมจังหวัดเป็นแผนแม่บทด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน สำหรับการพัฒนาพื้นที่และรองรับการขยายตัวของเมือง ตลอดจนรองรับการลงทุนของภาคเอกชนที่ไม่กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งฟื้นฟูระบบชุมชนเดิมให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่
              3.2) กลยุทธ์ : การรักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในเมืองโดยส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพันธุ์ไม้ป่า (ไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ป่ากินได้)เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะและการจัดการน้ำเสีย
อย่างมีคุณภาพ
              3.3) กลยุทธ์ : พัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานก่อสร้าง ขยาย บูรณะ บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐาน โดยการพัฒนาและบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการบริการด้านการขนส่งที่ได้มาตรฐานและพอเพียง ตามแนวทางการวางและทำผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
              3.4) กลยุทธ์ : การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                     3.4.1) ด้านการป้องกัน เสริมสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนให้เข้มแข็ง และพัฒนาการรักษาความสงบเรียบร้อยความมั่นคงและปลอดภัยให้มีคุณภาพ เร่งรัดการจัดระเบียบสังคมและแหล่งอบายมุข ตลอดจนสร้างกระบวนการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในการรักษาความสงบเรียบร้อยความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐให้มีคุณภาพ
                    3.4.2) ด้านการปราบปราม ปราบปราบความผิดที่กระทบต่อความเป็นอยู่ปกติของประชาชน รวมทั้งการพนัน การปราบปรามยาเสพติดให้โทษ และการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและสังคมอันดี รวมทั้งเร่งรัดติดตามจับกุมผู้กระทำความผิด ตลอดจนจัดการรักษาความสงบเรียบร้อยความมั่นคงและ ความปลอดภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่      
             3.5) กลยุทธ์ : การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเร่งรัดดำเนินการแก้ปัญหาสังคม ความยากจน และการให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ การดูแลครอบครัวที่อ่อนแอ ผู้ที่ไร้ที่พึ่ง คนชราที่อยู่กับเด็กตามลำพัง ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการในรูปแบบต่าง ๆ ตามสถานการณ์ โดยรัฐเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรให้อย่างเป็นธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเองได้ตลอดจนเสริมสร้างสุขภาวะให้มีสุขภาพแข็งแรง และยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต
             3.6) กลยุทธ์ : การบริหารจัดการภาครัฐภายใต้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยการพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพและจัดการบริการภาครัฐให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค รวดเร็ว มีคุณภาพ อำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น และตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการภาครัฐ เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน
 
              4 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ส่งเสริมพัฒนาสู่การเป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาและพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพมีความเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาลที่ 2 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต และนโยบายที่ 8 นโยบายการบริหารจัดการที่ดี
 
             (1) เป้าประสงค์
              ส่งเสริมการศึกษา และให้ประชาชนได้รับการพัฒนาความรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการประกอบอาชีพ และความมั่นคงในการดำรงชีวิต โดยยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม

             (2) ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
              2.1 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้ารับการอบรมด้านความรู้ทางวิชาชีพ/เป้าหมายร้อยละ 9
              2.2 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของบุคลากรภาครัฐและเอกชนที่ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพ/เป้าหมายร้อยละ 3
              2.3 จำนวนผู้ด้อยโอกาสได้รับการศึกษา/เป้าหมาย 6,000 คน ต่อปี
              2.4 ร้อยละของเด็กตกหล่นได้เข้ารับการศึกษา/เป้าหมายร้อยละ 95 ต่อปี
              2.5 จำนวนหลักสูตรทางวิชาชีพที่ให้วิทยากรท้องถิ่นเป็นผู้สอนในสถานศึกษา/เป้าหมาย1 หลักสูตร/อาชีพ ต่อภาคเรียน
2.6 ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของอัตราการเรียนต่อของเด็กที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น/เป้าหมาย

              (3) แนวทางมาตรการการพัฒนาจังหวัด
              3.1) กลยุทธ์ : ส่งเสริมพัฒนาการศึกษา คุณธรรม และจริยธรรมโดยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาอย่างถูกต้อง ให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดจนมีองค์ความรู้ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน และมีคุณธรรมจริยธรรม
              3.2) กลยุทธ์ : ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการท่องเที่ยว
โดยเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ และเอกชนให้มีองค์ความรู้ทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายและมีคุณภาพ
              3.3) กลยุทธ์ : ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรโดยส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการจัดการ การตลาด การบริหารจัดการน้ำชลประทานและทักษะในการประกอบอาชีพตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการองค์ความรู้ด้วยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรจากศูนย์ศึกษา ฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่เทคโนโลยีการฟื้นฟูบำรุงดิน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรอาสาสมัคร และการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิต การตลาดและการบริการ
               3.4) กลยุทธ์ : การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่มทุกวัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตพัฒนาสมรรถนะ ทักษะของกำลังแรงงาน ฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการอย่างมีคุณภาพ การจัดการองค์ความรู้ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้สมัยใหม่ ให้สามารถนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิตและเป็นภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต
               3.5) กลยุทธ์ : ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ทางธรรมชาติโดยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ เพื่อเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ไม้ป่าและสัตว์ป่าที่มีค่าหายาก
 

ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมสหกรณ์

1. เร่งรัด ยกระดับคุณภาพ และขยายการให้บริการแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป

2. เสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นสหกรณ์ การมีส่วนร่วม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ให้เข้มแข็งในระบบสหกรณ์

3. สนับสนุนระบบสหกรณ์ให้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนท้องถิ่นและประเทศ

4. ปรับโครงสร้างองค์กร พัฒนาบุคลากร และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

 
ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด กลยุทธ์
1. เร่งรัด ยกระดับคุณภาพ และขยายการให้บริการแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป 1.สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร สมาชิก และประชาชนทั่วไปได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา

1.จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนา

2.ร้อยละของสหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

3.ร้อยละของกลุ่มเกษตรกรผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

4.ร้อยละของจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนามีอัตราการเพิ่มของปริมาณธุรกิจ

5.ร้อยละของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร/กลุ่มอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

6.จำนวนนิคมสหกรณ์ที่บรรลุผลตามหลักเกณฑ์การจัดนิคมสหกรณ์

7.ร้อยละของจำนวนเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ที่สหกรณ์ได้รับการสนับสนุน

8.ร้อยละของจำนวนสหกรณ์ได้รับการสนับสนุนเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์เพิ่มขึ้น

1.1 ขยายการถ่ายทอดองค์ความรู้การสหกรณ์ การส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนระบบสหกรณ์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีคุณภาพ

1.2ขยายเครือข่ายความร่วมมือและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานและบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาระบบสหกรณ์

1.3 เพิ่มศักยภาพให้กองทุนพัฒนาสหกรณ์และเงินรายได้นิคมสหกรณ์ในบทบาทการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองสหกรณ์ให้เข้มแข็ง

1.4 ขยายงานและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้กว้างขวางและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

1.5 เร่งรัดการจัดที่ดินและการส่งเสริมอาชีพในพื้นที่นิคมสหกรณ์

1.6 สนับสนุนและคุ้มครองระบบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทางด้านการเงิน การผลิต การรวบรวม การแปรรูปและการตลาดตามศักยภาพและความสามารถ

1.7 ยกระดับคุณภาพการบริการและผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสู่มาตรฐาน และขยายสู่สากล
 
2. เสริมสร้างจิตสำนึกความเป็นสหกรณ์ การมีส่วนร่วม และสนับสนุนการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ให้เข้มแข็งในระบบสหกรณ์ 2.สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไปมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบสหกรณ์

1.จำนวนเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ

2.จำนวนบุคลากรของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาความรู้ในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ อย่างเข้มข้น

3.ร้อยละของจำนวนสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น

4.จำนวนเครือข่ายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

5.จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ

2.1  สนับสนุน และส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสร้างโอกาสให้กับองค์กรและสมาชิก

2.2 รณรงค์ สร้างองค์ความรู้และความเข้าใจกับบุคลากรของสหกรณ์และประชาชนทั่วไปให้เกิดศรัทธาในอุดมการณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง

2.3 เสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรตามหลักการสหกรณ์ และหลักธรรมาภิบาล
2.4 วางระบบรองรับนโยบายภาครัฐ และผลกระทบจากภัยธรรมชาติรวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม

2.5 สนับสนุนการบัญญัติกฎหมายสหกรณ์เพิ่มเติม และ/หรือแก้ไขกฎหมายสหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วม ให้เอื้อต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
 
3. สนับสนุนระบบสหกรณ์ให้เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชน ท้องถิ่นและประเทศ 3.สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในระดับชุมชนท้องถิ่นและประเทศ

1.ร้อยละของปริมาณธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)

2.จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมทางเศษฐกิจและสังคมกับชุมชน และท้องถิ้น

3.1 สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานและ/หรือสถาบันการศึกษาในการศึกษาวิจัย กำหนดหลักสูตร และ/หรือพัฒนาบุคลากรด้านการสหกรณ์อย่างเป็นระบบ

3.2 ขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของระบบสหกรณ์ พัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมของชุมชนท้องถิ่น และประเทศ

3.3 สร้างพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสหกรณ์
3.4 สนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการสหกรณ์
 
4. ปรับโครงสร้างองค์กร พัฒนาบุคลากร และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ 4.เป็นหน่วยงานที่มีขีดสมรรถนะสูง และมีความพร้อมในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม 1.ระดับความสำเร็จของการดำเนินการผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(ร้อยละโดยเฉลี่ย)
4.1 ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงโคงสร้างกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้มีความเป็นอิสระในขับเคลื่อนการพัฒนาระบบสหกรณ์

4.2 พัฒนาสมรรถนะและสร้างเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career path) อย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจแก่บุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์

4.3 ศึกษา วิจัย กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสหกรณ์ และขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

4.4 สร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
  • คุณอยู่ที่:  
  • หน้าแรก
  • เรื่องทั่วไป
  • ยุทธศาสตร์

Back to Top

© 2023 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครนายก