อำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี เป็นส่วนราชการส่งเสริมสหกรณ์ สังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ขึ้นตรงต่อ
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี มีหน้าที่และความรับผิดชอบงานราชการดังต่อไปนี้
1. งานราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
2. งานราชการนายทะเบียนสหกรณ์ ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
3. งานราชการของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้แก่ งานในหน้าที่ของกรมส่งเสริม ซึ่งเป็นกรมเจ้าสังกัด คือ
- เผยแพร่ ให้ความรู้ ให้การฝึกอบรมในเรื่องอุดมการณ์ หลักการ วิธีการ สหกรณ์ให้แก่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ทุกโอกาสที่สามารถกระทำได้
- ส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์ และสนับสนุนสหกรณ์ขยายการเปิดรับสมาชิก
- ส่งเสริม แนะนำ กำกับดูแล และช่วยเหลือให้สหกรณ์สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ธุรกิจและการจัดการแบบสหกรณ์
- ส่งเสริมสหกรณ์ต่าง ๆ ให้สามารถประสานประโยชน์ ในการดำเนินธุรกิจกับสถาบัน หรือเอกชนอื่น ๆ
- ปฏิบัติงานทางวิชาการ และปฏิบัติการให้การดำเนินงานของสหกรณ์สอดคล้องกับนโยบาย
- งานอื่น ๆ ตามที่กรมส่งเสริมสหกรณ์มอบหมาย
โครงสร้างการแบ่งส่วนงาน
ได้มีการแบ่งส่วนงานสำนักงานสหกรณ์จังหวัดปทุมธานี ออกเป็น ดังนี้
ฝ่ายบริหารทั่วไป
มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ
- จัดทำและรวบรวมแผนงาน คำขอตั้งงบประมาณ
- ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน และโครงการต่าง ๆ งานด้านการเงิน บัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์
- งานด้านการบริหารงานบุคคล งานติดต่อประสานงาน รวมทั้งงานสารบรรณและงานธุรการทั่วไป
- ดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์
มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ
- ให้คำปรึกษาแนะนำ เผยแพร่อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ สหกรณ์ให้แก่บุคลากรของ สหกรณ์ กลุ่มสตรีสหกรณ์ และประชาชนทั่วไป
- ศึกษา วิเคราะห์และดำเนินการ จัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์และ เยาวชนสหกรณ์
- ศึกษา วิเคราะห์โครงสร้างองค์กรเพื่อการส่งเสริมพัฒนา สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์และเยาวชนสหกรณ์
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนา สหกรณ์ และ กลุ่มเกษตรกร
- ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอื่น ๆ
- ให้คำปรึกษา แนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านการจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ให้แก่หน่วย- ส่งเสริมและพัฒนา สหกรณ์
- ติดตามการดำเนินการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วย สหกรณ์ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งติดตามและดำเนินการประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์
มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ
- ศึกษา วิเคราะห์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคลและการควบคุมภายใน เพื่อพัฒนาให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง
- ศึกษา วิเคราะห์และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดหา การลงทุน และการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
- ศึกษา วิเคราะห์ความต้องการสนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์ รวมทั้งการติดตามและประเมินผล
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการสหกรณ์ให้แก่หน่วย-ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
- ติดตามและดำเนินการประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์
มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ
- ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและส่งเสริมการตลาด แก่สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
- ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
- ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาด และส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจการตลาด ลู่ทาง การตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ให้แก่หน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์
- ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแล รักษา และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และขบวนการผลิต และประสานงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
- ติดตามและดำเนินการประเมินผล รายงานผลงานและโครงการใน หน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มตรวจการสหกรณ์
มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อพัฒนาระบบการตรวจการสหกรณ์ให้สอดคล้องกับกฎหมายสหกรณ์
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อจัดทำและปรับปรุง ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำนายทะเบียนสหกรณ์ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตรวจการสหกรณ์ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของนายทะเบียนสหกรณ์
- ส่งเสริม กำกับดูแล การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอยู่ในระบบการตรวจการสหกรณ์ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อวางแนวทางการแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์
- พัฒนาและปรับปรุงระบบรายงานการแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์ วินิจฉัยสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริมสนับสนุนการเข้าช่วยเหลือดำเนินกิจการของสหกรณ์ ของผู้ตรวจการสหกรณ์ให้ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์
- ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนนายทะเบียนสหกรณ์
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประเด็นปัญหาข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของสหกรณ์ต่อนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อวางแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
- ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์
มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากร สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป
- ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงานของสหกรณ์ ระบบการบริหารการจัดการ และการพัฒนาธุรกิจ สหกรณ์ของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร
- ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เป็น สหกรณ์ ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย