FAQ

 

 

1 คำถาม การนับระยะเวลาการเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี ของสหกรณ์ ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เช่น วันสิ้นปีทางบัญชี 31 มีนาคม
จะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม หรือวันที่ 1 เมษายน เป็นวันแรก
  คำตอบ นับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันแรก 
2 คำถาม หากคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เรียกประชุมใหญ่เกินกำหนดระยะเวลา 150 วัน นับแต่วันสิ้นทางบัญชีของสกรณ์จะเรียกการประชุมใหญ่ครั้งนั้นว่า "การประชุมใหญ่สามัญประจำปี" หรือ"การประชุมใหญ่วิสามัญ"
  คำตอบ

ยังคงถือว่าเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี

(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601 1848 ลว. 13 ก.ย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)

3 คำถาม สหกรณ์เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี แต่มีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม สหกรณ์จึงได้
นัดประชุมใหญ่อีครั้งภายในสิบสี่วันตามมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 แต่ก็ยังมี
สมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม จะเรียกการประชุมใหญ่ครั้งต่อๆ ไปว่า "การประชุมใหญ่สามัญประจำปี"หรือ"การประชุมหญ่วิสามัญ" และหากนัดประชุมใหใหม่แล้วยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมตามมาตรา57 และมาตรา 58 อีก จะต้องแนะนำสหกรณ์ปฏิบัติอย่างไร
  คำตอบ การประชุมใหญ่ตมประเด็นปัญหามีสาระสำคัญเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปี แต่ที่ผ่านมา
ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะมีสมาชิกมาร่วมประชุมไม่ครบจำนวนที่จะเป็นองค์ประชุม การนัดประชุม
ใหญ่ครั้งต่อไปไว่าจะสามารถดำเนิการให้สำเร็จลงได้ในเวลาใด ก็ไทำให้สาระสำคัญของการประชุม
ใหญ่สามัญเปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญแต่อย่างใด ดังนั้น การประชุมใหญ่ครั้งต่อไปของสหกรณ์ตมประเด็นปัญหา จึงยังเรียกว่า "การประชุมใหญ่สามัญประจำปี"กรณีที่นัดประชุใหญ่แล้วยังมีสมาชิกมาไม่ครบองค์ประชุมอีก สหกรณ์สามารถนัดประชุมใหญ่โดยใช้องค์ประชุมตามมาตรา 57 และมาตรา 58 แห่งพระราชญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 สลับกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสามารถประชุมได้ และหากสหกรณ์จังหวัดเห็นว่มีเหตุที่นายทะเบียนสหกรณ์จะสั่งเลิกสหกรณ์ตามมาตรา71(1) หรื (2) ได้ ก็สามารถใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบจากนายทะเบียนสหกรณ์สั่งเลิกสหกรณ์ดังกล่าวเสียได้
(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/33360 สงวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ภาคผนวกที่ 3 หน้า 50)
4 คำถาม สหกรณ์จะกำหนดในข้อบังคับให้มีการประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิกหรือสมาชิกก็ได้ สุดแต่คณะกรรมการดำเนินการจะเห็นสมควรในแต่ละ จะสามารถกำหนดได้หรือไม่
  คำตอบ การที่มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติเรื่องการประชุมใหญ่ไว้สองลักษณะ
คือ การประชุมใหญ่โดยสมาชิทั้งหมดหรืการประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิก เนื่องจาก สหกรณ์ที่จัดตั้งตาม
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มีได้ทั้งสหกรณ์ขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงห้าร้อยคน และ
สหกรณ์ขนาดใหญ่ซึ่งมีสมาชิกตั้งแต่หร้อยคนขึ้นไป และได้กำหนดให้สหกรณ์ขนาดใหญ่สามารถเลือกที่จะ
กำหนดในข้อบังคับได้ว่าจะให้มีกรประชุมใหญ่โดยผู้แทนสมาชิกหรือสมาชิกทั้งหมดเพื่อให้มืองค์ประชุมที่มี
ขนาดเหมาะสม ความสะดวกในการจัดหาสถานที่ประชุมและการจัดทำเอกสาร รวมทั้งประหยัดค่ใช้จ่ายใน
การประชุมใหญ่ จึเป็นสาระสำคัญที่สหกรณ์จะต้องกำหนดให้ชัดเจนและแน่นอนในข้อบังคับ มิใช่เป็น
อำนาจของคณะกรรมการดำเนินการที่จะเปลี่ยนแปลงหอเลือกที่จะประชุมโดยสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกได้
ในแต่ละปี
(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 1108/45 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ภาคผนวกที่ 4 หน้า 52)
5 คำถาม สหกรณ์จะกำหนดความหมายของคำว่ "ประชุมใหญ่" ให้ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆ ที่เป็นหน่วยเลือกตั้งของสหกรณ์ในเชตตางๆ ของกรุงเทพมหานครได้หรือไม่
  คำตอบ

ที่ประชุมใหญ่ หมายถึง ที่ประชุมร่วมกันของบรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกแล้วแต่กรณี ซึ่งได้มาประชุมร่วมกันเพื่อพิจรณาหรือรับทราบเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสหกรณ์ ตามที่ข้อบังคับสหกรณ์หรือกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์กำหนดไว้องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่จะต้องประกอบไปด้วย สถานที่และเวลาที่ประชุม องค์ประชุม วาระการประชุม และมติที่ประชุ สถานที่ประชุมจะต้องเป็นสถานที่เดียวกันหรือบริเวณเดียวกัน พอที่สมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกจะสามารถแสดงความเห็นโต้ตอบกันได้ในขณะที่ดำเนินการประชุมนั้น ดังนั้น การที่สหกรณ์กำหนดให้หน่วยเลือกตั้งเป็น "ประชุมใหญ่" จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว หน่วยเลือกตั้งเป็นสถานที่ที่สมาชิกส่วนหนึ่งไปทำกิจกรรมลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่นั้น หาใช่เป็นการประชุมไม่ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่ว สหกรณ์อาจกำหนดระเยบว่ด้วยการสรรหาบุคคลที่จะเสนอให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เนื่องจากการสรรหาไม่ต้องทำในที่ประชุมใหญ่และสามารถดำเนินการก่อนวันประชุมใหญ่ได้

(หนังสือนายทะเบียนสหรณ์ ที่ กษ 0216/28227 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ภาคผนวกที่ 5 หน้า 54)

6 คำถาม สหกรณ์จะจัดให้มีการประชุมใหญ่ 2 วัน จะกระทำได้หรือไม่
  คำตอบ

สหกรณ์อาจกำหนดการประชุมใหญ่ วัน ต่อเนื่องกันได้โดยกำหนดวาระการประชุม สถานที่ประชุไว้แห่งเดียวกันให้ชัดเจน และการประชุมต้องมีสมาชิกอยู่ในที่ประชุมครบองค์ประชุมตลอดเวลาการประชุม จึงจะเป็นการประชุใหญ่ที่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับ

(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0218128227 ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ภาคผนวกที่ 5 หน้า 54)

7 คำถาม สหกรณ์ชนาดใหญ่จะใช้องค์ประชุมในการประชุมใหญ่ โดยต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
  คำตอบ 

มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ ผศ. 2542 ได้บัญญัติเรื่องการนับองค์ประชุมในกรณีการประชุใหญ่ของสหกรณ์โดยสมาชิกไว้สองลักษณะ คื ลักษณะที่หนึ่ง จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด ลักษณะที่สอง จะต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน เนื่องจากสหกรณ์ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ฯ มีได้ทั้งสหกรณ์ขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงหนึ่งร้อยคนและสหกรณ์ขนาดใหญ่ซึ่งมีมาชิกตั้งแต่หนึ่ร้อยคนนไป ดังนั้น การนับองค์ประชุมของสหกรณ์ขนาดเล็กจึงต้องนับองค์ประชุมตามลักษณะที่หนึ่ง ส่วนการนับองค์ประชุมของสหกรณ์ขนาดใหญ่จะนับองค์ประชุมตามลักษณะที่หนึ่งหรือลักษณะที่สองก็ได้

(หนังสือสำนักงนคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 08011848 ลว. 13 กย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)

8 คำถาม    

สหกรณ์มีสมาชิกทั้งหมด 1,000 คน ในวันประชุมหญ่มีสมาชิกมาลงชื่อเข้าร่วมประชุม 600 คน

ในระหว่างประชุมมีมาชิกเหลืออยู่ในที่ประชุมจำนวน 300 คน ไม่ถึงกึ่งหนึ่ง (500 คน) แต่เกิน 100 คน

จะถือว่าครบองค์ประชุมหรือไม่


  คำตอบ   การนับจำนวนสมาชิกจะต้องนับจากสมาชิกซึ่งอยู่ในที่ประชุม เมื่อจำนวนสมาชิกซึ่งอยู่ในที่ประชุมยังมีจำนวนไม่น้อยกว่า 100 คน การประชุมดังกล่วยังครบเป็นองค์ประชุมตามที่มาตรา 57 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 บัญญัติไว้

(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/848 ลว. 13 ก.ย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)

คำถาม การนับคะแนนเสียงกึ่งหนึ่หรือไน้อยคว่สองในสามจะต้องนับจากสมาชิกที่มาลงชื่อเข้าประชุม

หรือสมาชิกที่มาลงซื่อและอยู่ในที่ประชุม

  คำตอบ   

การนับคะแนนเสียงกึ่งหนึ่งหรือไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกซึ่งมาประชุม จะต้องนับคะแนนเสียงจากจำนวนสมาชิกที่มาลงชื่และอยู่ในที่ประชุม ในชณะที่การประชุมนั้นครบเป็นองค์ประชุม

(หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/848 ลว. 13 ก.ย. 2543 ภาคผนวกที่ 2 หน้า 39)

10  คำถาม

ในการประชุมหญ่ของสกรณ์ได้มีสมาชิกเสนอเพิ่มวาระเรื่องต่างๆ ให้ที่ประชุมได้พิจารณาในระหว่างการประชุมจะกระทำได้หรือไม่

  คำตอบ   

ข้อบังคับกำหนดให้สหกรณ์มีหนังสืแจ้งวัน เวลา สถานที่ และเรื่องที่จะประชุมให้บรรดาสมาชิกหรือผู้แทนสมาชิกทราบล่วหน้ เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิได้ศึกษา พิจารณา ตรวจสอบ หรือเพื่อเตรียมตัวชักถาม หรือแสดความคิดเห็นในเรื่องต่งๆ ตามที่สหกรณ์ได้แจ้งมา ซึ่งตามปกติการจัดการประชุมใหญ่สหกรณ์จะกำหนดวาระต่งๆ ไว้อย่งชัดเจน รวมทั้งกำหนดวาระเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) ไว้ด้วย และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้พิจรณาเพื่อลมติ ทั้งการอนุมัติหรือการรับทราบของแต่ละวาระ ดังนั้น สมาชิกจะขอเพิ่มวาระในวันที่ประชุหญ่โดยไม่ได้แจ้งล่วงหนไม่สามารถกระทำได้

(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/29812 ลว. 28 พย 2543 ภาคผนวกที่ 6 หน้า 56)

11  คำถาม ในระเบียบวาระอื่นๆสมาชิกสามารถสนอให้ที่ประชุมพิจรณาหรือรับทราบในเรื่องลักษณะใดได้บ้าง
  คำตอบ   

สมาชิกสามารถใช้สิทธิเสนอเรื่องต่งๆ ในวาระอื่นๆ ได้ แต่การพิจารณาของที่ประชุมใหญ่อาจจะไม่ได้ข้อยุติในทันที ซึ่คณะกรรมการดำเนินการจะต้องรับข้อเสนอไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำเสนอในการประชุมใหญ่คราวต่อไป

(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/29612 ล2. 28 พย. 2543 ภาคผนวกที่ 6 หน้า 56)

 12 คำถาม

คณะกรรมการดำเนิการได้มีการประชุมพิจารณาแนวทางการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเพื่อเสนอที่ประชุมใหญ่พิจารณาอนุมัติ แต่ในการประชุมใหญ่ ที่ประชุมใหญ่ได้พิจารณาแล้วมีมติไม่เห็นด้วยกับการเสนอของคณะกรรมการดำเนินการ ประธานในที่ประชุมใหญ่จึงได้สั่งพักการประชุมใหญ่ชั่วคราวและประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจรณาแนวทางการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีไหม่ เสนอต่อที่

ประชุมใหญ่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เป็นวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องหรือไม่

  คำตอบ   

ข้อบังคับของสหกรณ์ได้กำหนดอำนาจหน้ที่ของประธานกรรมการ ว่าให้เป็นประธานในที่ประชุมใหญ่และที่ประชุมคณะกรมการดำเนินการ และควบคุมการประชุมดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ดังนั้นประธานในที่ประชุมใหญ่จึงมีอำนาจสั่งพักการประชุมใหญ่ชั่วคราวได้

(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216107914 ลงวันที่ 20 มษายน 2543 ภาคผนวกที่ 7 หน้า 58)

13  คำถาม

ข้อบังคัของสหกรณ์ ได้กำหนดว่ไม่ให้จ่ายเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจให้แก่สมาชิกที่ผิดนัดชำระหนี้ แต่ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสหกรณ์ได้พิจรณาประมาณการรายจ่ยประจำปี เพื่อนำมาจ่ายเงินชดเชยหรือคตอบแทนให้กับสมาชิกที่ผิดนัดชำระหนี้ดังกล่วข้างต้นเท่กับหรือน้อยกว่าเงินเฉลี่ยคืน

ของสมาชิกที่ผิดนัดชำระหนี้ สามารถกระทำได้หรือไม่ เพียงใด

  คำตอบ   

การที่ที่ประชุมไหสามัญประจำปีของสหกรณ์ได้พิจรณาอนุมัติประมาณการรายจ่ายประจำปีของสหกรณ์เพื่อจ่ยเงินชดเชยหรือคำตอบแทนให้กับสมาชิกที่ผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย หรือพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ หรือกรณีลูกหนี้ขอขยายเวลาการชำระหนี้ก่อนถึกำหนดชำระและเจ้าหนีอนุญาต และสามารถชำระหนี้ได้ภายในระยะเวลาที่ขอขยายนั้นเป็นการลงมติที่ฝ้าฝืนข้อบังคับ นายทะเบียนสหกรณ์หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจยับยั้งหรือเพิกถอนมติดังกล่วได้ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542

(หนังสื่อนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216107914 ลงวันที่ 20 มษายน 2543 ภาคผนวกที่ 7 หน้า 58)

14 คำถาม

สหกรณ์จะกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีว่า "จ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ไม่ต่ำกว่ร้อยละ 2" จะสามารถกำหนดได้หรือไม่

  คำตอบ

ไม่สามารถกำหนดได้ เนื่องจากการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีเป็นโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เป็นดุลยพินิจของที่ประชุมใหญ่ที่จะจัดสรรจำนวนเท่ใดย่อมขึ้นกับกำไรสุทธิของสหกรณ์ในแต่ละปิเป็นสำคัญ

(หนังสือนายทะเบียนสหกรณ์ ที่ กษ 0216/07008 ลงวันที่ 4 มษายน 2543 ภาคผนวกที่ 8 หน้า 61)

15 คำถาม

สมาชิกสหกรณ์แจ้งให้รองนายทะเบียนสหกรณ์เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญ เนื่องจากเห็นว่าที่ประชุใหญ่ของสหกรณ์ เมื่วันที่ 21 กันยายน 2549 ลงมติเห็นชอบให้มีการทบทวนมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำ 2547 โดยไม่ได้แจ้งวาระให้สมาชิกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับของสหกรณ์ มติของที่ประชุมใหญ่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับหรือไม่

  คำตอบ

สหกรณ์ได้มีการแจ้งกำหนดวันประชุมใหญ่วิสมัญ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2549 ให้สมาชิกทราบและปรากฏว่าได้มีสมาชิกเข้าร่วมประชุใหญ่ครบองค์ประชุมโดยไม่มีสมาชิกคนใดโต้แย้งว่าการแจ้งกำหนดวันประชุมใหญ่วิสามัญไม่ชอบหรือมีสมาชิไม่ทราบการประชุใหญ่ดังกล่าว รวมทั้งผู้ร้องเองก็ไม่ได้โต้แย้งเช่นกัน เมื่อสหกรณ์มีกรประชุใหญ่ครบองค์ประชุมตามข้บังคับ การประชุมใหญ่วิสามัญและการลงมติในการประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมที่ชอบด้วยข้อปังคับแล้ว

(หนังสือสำนักงานเลขานุการคม ที่ กษ 1101635 ลงวันที่ 11 กันยายน 2550 ภาคผนวกที่ 9 หน้า 63)