การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
1. กลุ่มเกษตรกร
1.1 ความเป็นมา
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 140 ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 ได้แก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ เพื่อให้ราษฎรผู้มีอาชีพเกษตรกรรมรวมกันจัดตั้ง กลุ่มเกษตรกรขึ้น มีหลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 141 ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกัน และกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล และสามารถประกอบธุรกิจ ต่าง ๆ ได้ ภายใต้การสนับสนุน ส่งเสริมและกำกับของทางราชการ
ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ขึ้น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2542 เป็นต้นไป โดยให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 140 ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 และบัญญัติให้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรขึ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป โดยให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 141 ประกาศ ณ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
1.2 ประเภทเกษตรกรรม
เกษตรกรรมตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 หมายความว่าการทำนา ทำไร่ ทำสวน ประมง เลี้ยงสัตว์ และเกษตรกรรมประเภทอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา
1.3 ความหมายของกลุ่มเกษตรกร
กลุ่มเกษตรกรตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร พ.ศ. 2547 หมายความว่าบุคคล ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักจำนวนไม่น้อยกว่าสามสิบคน และมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาจร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรและจดทะเบียนจัดตั้งตาม พระราชกฤษฎีกาฯ ข้างต้น
2. การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
เกษตรกรจำนวนไม่น้อยกว่าสามสิบคน ผู้ประสงค์จะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ให้ประสานขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแห่งท้องที่ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร จำนวน 5 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 ขั้นตอนที่ 1 การรวบรวมเกษตรกร เกษตรกรที่จะรวมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรต้อง
(1) เป็นบุคคลธรรมดาบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย
(2) เป็นบุคคลผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
(3) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) มีจำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมประเภทเดียวกันและมีภูมิลำเนาในท้องที่เดียวกัน
(5) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
(6) ไม่เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรอื่น หรือสมาชิกสหกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการ
ให้กู้ยืมเงินในขณะเดียวกัน และในครอบครัวหนึ่งให้เป็นสมาชิกได้หนึ่งคน
(7) สมัครใจรวมกันลงทุนด้วยการถือหุ้นอย่างน้อยคนละหนึ่งหุ้น แต่ไม่เกินหนึ่งในห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมด
(8) ยินยอมปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเกษตรกรและข้อบังคับที่ร่วมกันกำหนดขึ้นโดยเคร่งครัด โดยจัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกรผู้ซึ่งประสงค์จะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
2.2 ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
เมื่อรวบรวมเกษตรกรตามขั้นตอนที่ 1 แล้ว ให้ดำเนินการ
(1) จัดประชุมเกษตรกรผู้ซึ่งประสงค์จะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เพื่อ
- เลือกบุคคลจากที่ประชุมจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน เป็นคณะผู้ก่อการ
- กำหนดชื่อกลุ่มเกษตรกรตามประเภทเกษตรกรรม
(2) คณะผู้ก่อการ ต้องดำเนินการ
- กำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่มเกษตรกรตามประเภทเกษตรกรรมให้สอดคล้องกับ
ความต้องการของสมาชิก
- จัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกรผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร
- จัดทำร่างข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ
(3) คณะผู้ก่อการจัดประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร โดย
- นัดประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร
- จัดทำระเบียบวาระการประชุม
- จัดเตรียมบัญชีลงชื่อผู้เข้าประชุม
- จัดเตรียมสมุดบันทึกรายงานการประชุม
- จัดประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร เพื่อรับทราบชื่อกลุ่มเกษตรกร การกำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่มเกษตรกร และพิจารณาร่างข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร เพื่อกำหนดให้เป็นข้อบังคับของ กลุ่มเกษตรกรในการจัดประชุมทุกครั้งต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแห่งท้องที่กรณีภูมิภาค หรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์พื้นที่ 1 หรือพื้นที่ 2 กรณีกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุมด้วย
2.3 ขั้นตอนที่ 3 การขอจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
คณะผู้ก่อการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรต่อนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัด แห่งท้องที่ที่จะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร ผ่านสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแห่งท้องที่ กรณีภูมิภาค หรือสำนักงาน ส่งเสริมสหกรณ์ พื้นที่ 1 หรือพื้นที่ 2 กรณีกรุงเทพมหานคร เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เอกสารการขอจดทะเบียนกลุ่มเกษตรกร ประกอบด้วย
(1) คำขอจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร จำนวน 1 ฉบับ
(2) ร่างข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกร จำนวน 4 ฉบับ
(3) บัญชีรายชื่อเกษตรกรผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 ชุด
(4) สำเนารายงานการประชุมเกษตรกรผู้ซึ่งจะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 ชุด
(5) สำเนารายงานการประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 2 ชุด
2.4 ขั้นตอนที่ 4 การจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแห่งท้องที่ กรณีภูมิภาค หรือสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ พื้นที่ 1 หรือพื้นที่ 2 กรณีกรุงเทพมหานคร จัดส่งเอกสารการขอจดทะเบียนกลุ่มเกษตรกรตามขั้นตอนที่ 3 ให้ นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดแห่งท้องที่ที่จะจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เพื่อพิจารณารับจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดแห่งท้องที่พิจารณารับจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เป็น 3 กรณี ดังนี้
(1) กรณีที่ 1 คำขอจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรมีเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดแห่งท้องที่รับจดทะเบียน โดย
- ออกใบทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
- จดทะเบียนข้อบังคับกลุ่มเกษตรกร
- แจ้งการรับจดทะเบียนให้กลุ่มเกษตรกร
- แจ้งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแห่งท้องที่
- แจ้งสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แห่งท้องที่
- แจ้งสำนักจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์
(2) กรณีที่ 2 คำขอจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร หรือข้อบังคับของกลุ่มเกษตรกรมีรายการไม่ถูกต้องครบถ้วน นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดแห่งท้องที่ สั่งให้ผู้ก่อการแก้ไขหรือดำเนินการ ให้ถูกต้องหรือส่งเอกสารให้ครบถ้วน
(3) กรณีที่ 3 นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดแห่งท้องที่ไม่รับจดทะเบียน ให้แจ้งเป็นหนังสือพร้อมแสดงเหตุผลให้ผู้ก่อการทราบโดยไม่ชักช้า
ผู้ก่อการมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดภายใน 30วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่รับจดทะเบียน รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ก่อการทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันรับอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
2.5 ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการหลังจากได้รับจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
- กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับจดทะเบียนแล้วมีสภาพเป็นนิติบุคคล
- บุคคลตามบัญชีเกษตรกรผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีสถานภาพเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัดแห่งท้องที่รับจดทะเบียน และได้ชำระค่าหุ้นค่าธรรมเนียมแรกเข้า ตามจำนวนที่กำหนดครบถ้วนและลงลายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก โดยคณะผู้ก่อการต้องจัดทำ
(1) ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิก
(2) ทะเบียนสมาชิก
(3) ทะเบียนหุ้น
(4) ออกใบเสร็จรับเงินค่าหุ้นและค่าธรรมเนียมแรกเข้า
- คณะผู้ก่อการ มีอำนาจหน้าที่และสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการดำเนินการขอ
กลุ่มเกษตรกร และดำเนินกิจการของกลุ่มเกษตรกรได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
- คณะผู้ก่อการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 90 วัน นับแต่วันรับใบทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร เพื่อ
(1) เลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ
(2) เลือกตั้งผู้ตรวจสอบกิจการ
(3) กำหนดวงเงินดำเนินกิจการ
(4) กำหนดแผนดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(5) มอบหมายการทั้งปวงให้คณะกรรมการดำเนินการ โดย
- นัดประชุมสมาชิกกลุ่มเกษตรกร
- จัดทำระเบียบวาระการประชุม
- จัดเตรียมบัญชีลงชื่อผู้เข้าประชุม
- จัดเตรียมสมุดบันทึกรายงานการประชุม
- จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรก
- กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว ปรากฏว่า
(1) ไม่มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 90 วัน นับแต่วันรับใบทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
(2) กลุ่มเกษตรกรไม่เริ่มดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรนายทะเบียนสหกรณ์มีอำนาจสั่งให้เลิกกลุ่มเกษตรกร
การจัดการองค์ความรู้ (KM) ประเภทของความรู้ ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ |
2564
ผลงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ปี พ.ศ. 2564 | |
![]() |
การจัดการน้ำและใช้ประโยชน์ที่ดิน (แปลงดินทราย) |
2563
2562
ผลงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ปี พ.ศ. 2562 | |
![]() |
องค์ความรู้-แนะนำการส่งเสริมสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ |
![]() |
องค์ความรู้-การประชุมกลุ่มบันไดก้าวสูความสำเร็จของสหกรณ์ |
![]() |
องค์ความรู้-กระบวนการขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ |
2560
ผลงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ปี พ.ศ. 2560 | |
![]() |
แบบประเมินมาตรฐานสหกรณ์ |
![]() |
รักษาและยกระดับมาตรฐาน 2560 เพชรบุรี |
![]() |
รายงานการจัดทำองค์ความรู้ในการส่งเสริมให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน |
![]() |
องค์ความรู้ในการแนะนำการส่งเสริมสหกรณ์ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสหกรณ์ |
2559
ผลงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ปี พ.ศ. 2559 | |
![]() |
การจัดการองค์ความรู้การส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพในสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง |
ผลงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ปี พ.ศ. 2558 | |
![]() |
การบริหารบุคลากรตามหลักพรหมวิหาร4-สหกรณ์จังหวัด |
![]() |
การส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน |
![]() |
กระบวนการขอกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ |
2557
ผลงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ปี พ.ศ. 2557 | |
![]() |
การส่งเสริมพัฒนากลุ่มอาชีพในสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง |
![]() |
การประชุมกลุ่มบันไดก้าวสู่ความสำเร็จของสหกรณ์ |
2556
ผลงานการจัดการองค์ความรู้ (KM) ปี พ.ศ. 2556 | |
![]() |
Supply Chainการเลี้ยงแพะ |
![]() |
การส่งเสริมพัฒนากลุ่มผู้ผลิตให้เข้มแข็ง |