คู่มือการปฏิบัติงานกองทุนพัฒนาสหกรณ์และหลักเกณฑ์
1.คู่มือการปฏิบัติงานกองทุนพัฒนาสหกรณ์ 
- คู่มือการปฏิบัติงานกองทุนพัฒนาสหกรณ์และระเบียบ คำสั่ง ประกาศ (ฉบับปี 2564)
2.หลักเกณฑ์การกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์
คุณสมบัติของสหกรณ์ที่จะกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์
1. สหกรณ์ทุกประเภท
2. มีทุนเรือนหุ้นไม่ต่ำกว่า 50,000.- บาท และสำหรับสหกรณ์ตั้งใหม่ไม่เกิน 1 ปี ให้กู้ได้ไม่เกิน 500,000.- บาท เว้นแต่ สหกรณ์นั้นต้องการดำเนินการตามโครงการพิเศษที่ทางราชการกำหนดหรือโครงการที่ทางราชการมอบหมายให้สหกรณ์นั้นดำเนินการ
3. มีวินัยทางการเงิน เป็นสหกรณ์ที่ไม่มีการทุจริตและไม่มีข้อบกพร่องทางการเงินและทางบัญชี หากสหกรณ์มีข้อบกพร่อง ต้องได้รับการแก้ไขแล้ว
วงเงินให้กู้ยืม
วงเงินกู้ยืมต่อหนึ่งสหกรณ์ขึ้นอยู่กับโครงการ/แผนงาน ฐานะทางการเงิน และความสามารถในการส่งชำระหนี้ของสหกรณ์
อัตราดอกเบี้ย
เงินที่จ่ายให้สหกรณ์กู้ยืม คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 - 6 ต่อปี ตามหลักเกณฑ์การเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ตามผลการจัดชั้นลูกหนี้ของสหกรณ์ ดังนี้
ชั้นลูกหนี้ อัตราดอกเบี้ยต่อปี
เงินกู้ทั่วไป เงินกู้เพื่อลงทุนในทรัพย์สิน พิเศษ12345 ร้อยละ 1ร้อยละ 2ร้อยละ 3ร้อยละ 4ร้อยละ 5ร้อยละ 6 ร้อยละ 1 ร้อยละ 1.5 ร้อยละ 2ร้อยละ 2.5 ร้อยละ 3 ร้อยละ 3.5
วัตถุประสงค์ในการให้สหกรณ์กู้ยืม
1. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์
2. เพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน หรือ ชำระหนี้เดิมที่เกิดจากการลงทุนในทรัพย์สิน
ระยะเวลาการให้กู้
1. เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจให้กู้หมุนเวียนได้ ภายในระยะเวลา 3 ปี (โดยปฏิบัติตามเงื่อนไข)
2. เพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน ภายในระยะเวลา 15 ปี
เงื่อนไขการให้เงินกู้
1. กรณี กู้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ ให้กู้หมุนเวียนได้ภายในระยะเวลา 3 ปี
โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) ต้องใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจในแต่ละปี ภายในวัตถุประสงค์เดิมและวงเงินกู้เท่าเดิม
(2) ให้สหกรณ์จัดทำหนังสือกู้ยืมและหลักประกันเงินกู้ใหม่ทุกปี (โดยระบุวันครบกำหนดในหนังสือสัญญาภายใน 1 ปี) พร้อมแนบแผนการดำเนินธุรกิจงบการเงินของสหกรณ์ (งบทดลองเดือนล่าสุดและงบดุล ปีล่าสุด) และสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ครั้งที่มีมติขอกู้เงินและขอเบิกเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ และมติแต่งตั้งผู้มีอำนาจลงนามในหนังสือสัญญากู้ยืมแทนสหกรณ์ทุกปี เพื่อประกอบการขอเบิกเงินกู้ ทุกครั้ง
(3) การขอกู้และเบิกเงินกู้ในปีที่ 2 และปีที่ 3 เพื่อนำเงินกู้ไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์เดิม ดังกล่าว (สหกรณ์จะต้องไม่มีข้อบกพร่องทางการเงิน โดยพิจารณาจากงบการเงินของสหกรณ์ และสหกรณ์จะต้อง ส่งชำระหนี้เงินกู้เดิมให้เสร็จสิ้นก่อนเบิกรับเงินกู้ใหม่ และให้พิจารณานำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินกองทุน พัฒนาสหกรณ์เบิกจ่ายเงินกู้ให้สหกรณ์
2. กรณี กู้เพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน มีเงื่อนไข ดังนี้
(1) ระยะเวลาการให้เงินกู้ไม่เกิน 15 ปี โดยพิจารณาจากความเป็นไปได้ของโครงการประวัติการชำระหนี้และความสามารถในการชำระหนี้
(2) วงเงินให้กู้เพื่อลงทุนในทรัพย์สินไม่เกิน 80% ของวงเงินลงทุน
(3) ให้นำสินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้เงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ และสามารถจำนองได้ตามกฎหมาย นำมาจำนองค้ำประกันเงินกู้ด้วย
หลักประกันเงินกู้
คณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ทั้งคณะ และผู้จัดการของสหกรณ์ (ถ้ามี) ร่วมค้ำประกันเงินกู้ทุกกรณี พร้อมทั้งจำนองอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี)
(การค้ำประกันดังกล่าวเป็นการค้ำประกันในฐานะส่วนตัวและยังคงผูกพันผู้ค้ำประกันตลอดไปจนกว่ากรมฯ จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน)
ผู้มีอำนาจอนุญาตให้สหกรณ์กู้เงิน
1. จำนวนเงินกู้ไม่เกิน 1,000,000.- บาท อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจอนุญาต ภายในวงเงินที่กรมส่งเสริมสหกรณ์จัดสรรให้แต่ละจังหวัด
2. จำนวนเงินกู้ไม่เกิน 25,000,000.- บาท อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นผู้มีอำนาจอนุญาต
3. จำนวนเงินกู้เกินกว่า 25,000,000.- บาท คณะกรรมการบริหาร กพส. เป็นผู้มีอำนาจอนุญาต