อำนาจหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด (ตาม กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557)
สำนักงานสหกรณ์จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในพื้นที่รับผิดชอบ ดังต่อไปนี้ 1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วย การจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ติดตาม รวบรวมแผนงาน จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน และจัดทำคำขอตั้งงบประมาณของสำนักงาน 2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานการเงิน การบัญชี วัสดุ ครุภัณฑ์ จัดซื้อ จัดจ้าง และการบริหารงานบุคคล ของสำนักงาน 3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ และงานบริหารทั่วไปของสำนักงาน 4. ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนงาน/โครงการ และคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงาน 5. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของสำนักงานและจัดทำปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 6. ดำเนินงานด้านเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ 7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ ความเป็นไปได้และให้ความเห็นในการขอจัดตั้งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรของกลุ่มบุคคล รวมทั้งติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ภายหลังการจัดตั้ง 2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการจัดตั้งสหกรณ์ แก้ไขปัญหาภารกิจที่เกี่ยวข้องของกลุ่มงาน ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4. ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมสหกรณ์ 5. ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน และดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการพิเศษ 6. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเดิม 7. เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และ ประชาชนทั่วไป ในพื้นที่รับผิดชอบ 8. การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการฝึกอบรม/การบริหารโครงการระดับจังหวัดในภารกิจที่เกี่ยวข้อง 9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจ และส่งเสริม การตลาดแก่สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร 2. ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและพัฒนา สินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า 3. ศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการตลาด และส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจ การตลาดสหกรณ์ ลู่ทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ 4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5. ประสานงานให้ความช่วยเหลือในการดูแล รักษา และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต 6. ติดตามและดำเนินการประเมินผลรายงานผลงาน และโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน 7. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรเดิม 8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคลและการควบคุมภายใน เพื่อพัฒนาให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง 2. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การจัดหาการลงทุน และการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร 3. ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการสนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์ รวมทั้งการติดตามและประเมินผล 4. ให้คำปรึกษา แนะนำ ในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการจัดการสหกรณ์ให้แก่ กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 5. ติดตามและดำเนินการประเมินผลรายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ ความรับผิดชอบของกลุ่มงาน 6. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และ กลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกรเดิม 7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล เพื่อตรวจสอบกิจการ และฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อกำกับดูแลให้สหกรณ์ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติ ตามที่กฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบ หรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงาน เสนอนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อทราบหรือ พิจารณา 3. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อวางระบบและแนวทางการตรวจการสหกรณ์ ในพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ 4. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัย หรือสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแนวทางการป้องกัน แก้ไข 5. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เช่น การร้องเรียนคดีความต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของ สหกรณ์ 6. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ตอบข้อหารือ ที่เกี่ยวข้องกับ การใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์ 7. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ ในการเตรียมการ หรือทำคำสั่งทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางปกครอง 8. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ 9. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ 10. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย 11. ประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบการตรวจการสหกรณ์ 12. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร และกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับผิดชอบ 2. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารงานสหกรณ์ทุกประเภทและกลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่รับผิดชอบ 3. ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ทุกประเภท และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ 4. เผยแพร่และให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่รับผิดชอบ 5. ส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมส่งเสริมสหกรณ์และรักษาระดับมาตรฐานสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรเดิม 6. ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมสหกรณ์ และระบบการตรวจการสหกรณ์ 7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย |