66

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

สำนักงานสหกรณ์จังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และประชาชนทั่วไป ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

การแบ่งภารกิจในความรับผิดชอบ

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป หน้าที่ความรับผิดชอบ จัดทำแผนงาน คำขอจัดตั้งงบประมาณ ติดตามเร่งรัด และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการต่าง ๆ งานด้านการเงินและการบัญชี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ จัดทำรายงานการเงิน เก็บรักษาเอกสาร หลักฐานการเงินการบัญชีไว้สำหรับการตรวจสอบ งานควบคุมและจัดหาพัสดุครุภัณฑ์ วัสดุเครื่องใช้สำนักงาน ตลอดจนการเก็บรักษา การซ่อมบำรุงให้พร้อมและเพียงพอต่อการใช้งาน งานด้านการบริหารงานบุคคลในสำนักงาน งานสารบรรณ งานด้านติดต่อประสานงาน และงานธุรกการทั่วไป

กลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ หน้าที่ความรับผิดชอบ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพสหกรณ์ รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ การเลิกสหกรณ์และการชำระบัญชี ประสานงานกลุ่มงานในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้คำปรึกษา แนะนำแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ให้ดำเนินการตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ให้ปรึกษาแนะนำงานภารกิจของกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ รวบรวมประเมินผลการรายงาน ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์  หน้าที่ความรับผิดชอบ ศึกษา วิเคราะห์ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ศึกษา วิเคราะห์ ส่งเสริมและประสานงานหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องหรือธุรกิจเอกชนในการพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการเพื่อ เพิ่มมูลค่าสินค้าที่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพสหกรณ์ ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้านการตลาดและส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจ การตลาดของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตลอดจนติดตามรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดและธุรกิจ แจ้งให้กับสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆให้รับทราบ ประสานงานกับกลุ่มงานในสำนักงานสหกรณ์จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจการตลาด ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์และกลุ่มต่างๆให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ประสานงานหน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือในการดูแลบำรุงรักษา ปรับปรุงซ่อมแซมปัจจัยพื้นฐานการผลิต และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ให้คำปรึกษาแนะนำในภารกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ติดตามประเมินผล รายงานผลงานและโครงการที่เกี่ยวข้องตามพันธกิจ และภารกิจที่ได้รับมอบหมายในห้าที่ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์  หน้าที่และความรับผิดชอบศึกษา วิเคราะห์ ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับโครงการขององค์กร การจัดระบบงานการบริหารงานบุคคล การควบคุมภายในองค์กรและการบริหารทางการเงิน ให้แก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้เหมาะสมกับโครงสร้าง ประมาณธุรกิจ ระบบงาน การบริหาร สภาพภาพแวดล้อมที่มีอยู่ ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือในการวางแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงานให้สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ศึกษา วิเคราะห์ ถึงความต้องการสนับสนุนเงินทุนต่าง ๆ วิเคราะห์ความ เป็นไปได้ของโครงการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการความช่วยเหลือจากรัฐ ตลอดจนแนะนำให้คำปรึกษาด้านเงินทุน การติดตามประเมินผล เตือนและเร่งรัดการชำระหนี้เงินกองทุนต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการ ให้คำปรึกษา แนะนำในการกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ ให้แก่กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ติดตามและดำเนินการประเมินผล รายงานผลงานและโครงการในหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์ให้กับส่วนที่เกี่ยวข้อง รับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายและโครงการพิเศษตามที่ได้รับมอบหมาย อาทิเช่น โครงการลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาล ผ่านระบบสถาบันเกษตรกร เป็นต้น

กลุ่มตรวจการสหกรณ์   หน้าที่และความรับผิดชอบ

1. ศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบกิจการและฐานะการเงินของสหกรณ์ เพื่อให้สหกรณ์ปฏิบัติหรืองดเว้นปฏิบัติตามที่กฎหมายสหกรณ์หรือกฎหมายอื่นกำหนด รวมถึงข้อบังคับ ระเบียบของสหกรณ์ ระเบียบหรือคำสั่งของนายทะเบียนสหกรณ์ พร้อมจัดทำรายงานเสนอนายทะเบียนสหกรณ์ เพื่อทราบหรือพิจารณา

2. ศึกษา วิเคราะห์ แนวทางการตรวจการสหกรณ์ให้เกิดประสิทธิภาพ

3. ศึกษา วิเคราะห์ การแก้ไขข้อบกพร่องของสหกรณ์ การร้องเรียนการดำเนินงานของสหกรณ์ เพื่อนำเสนอนายทะเบียนสหกรณ์วินิจฉัยหรือสั่งการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมวางแนวทางการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู

4. ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของนายทะเบียนสหกรณ์

5. ช่วยเหลือนายทะเบียนสหกรณ์ หรือรองนายทะเบียนสหกรณ์ในการเตรียมการหรือทำคำสั่งทางปกครองให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางปกครอง

6. งานกำหนด/งานแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

7. งานกำหนด/งานแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

8. งานข้อบกพร่องของสหกรณ์

9. งานประชุมคณะทำงานระดับจังหวัดแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีข้อบกพร่อง

10. งานเลิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

11. งานกำกับ และติดตามการชำระบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

12. งานร้องเรียน/ร้องขอความเป็นธรรมเกี่ยวกับการดำเนินงานของสหกรณ์

13. งานตอบข้อหารือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ

14. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ

15. ประสานการทำงานร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ

16. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายทะเบียนสหกรณ์มอบหมาย

17. ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องและตามที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ ให้ข้าราชการในหน่วยส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกับการปฏิบัติงานในสำนักงานสหกรณ์อำเภอตามโครงสร้างเดิม โดยให้มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ

1. การเผยแพร่ และให้ความรู้ความเข้าใจในระบบสหกรณ์ว่าด้วยเรื่องอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ กลุ่มเกษตรและประชาชนทั่วไป 

2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

3. ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การขอจัดตั้ง สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร แก่บุคคลผู้สนใจ รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ 

4. ให้การส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุน แนะนำ การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และชุมนุมสหกรณ์ แก่คณะบุคคลผู้ขอจัดตั้ง รวมถึงการควบสหกรณ์ การแยกสหกรณ์ และการเลิกสหกรณ์ และให้การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำสหกรณ์ในการดำเนินงานภายหลังการจัดตั้ง เพื่อความเข้มแข็งและความยั่งยืนของสหกรณ์ 

5. ส่งเสริม แนะนำ เร่งรัด การดำเนินงานของสหกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ ระเบียบ ข้อกำหนดต่าง ๆ คำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์ นโยบาย มติที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ มติที่ประชุมของคณะกรรมการดำเนินการเพื่อการป้องปรามและป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การให้คำแนะนำให้สหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ส่งสำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ สำเนารายงานการประชุมใหญ่ให้ตรงตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้การแนะนำ ดูแล การดำเนินงาน ของฝ่ายจัดการ และคณะกรรมการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ หรือมติที่ประชุมใหญ่และมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ตลอดจนคำสั่ง คำแนะนำ และระเบียบของนายทะเบียนสหกรณ์ เป็นต้น 

6. ตรวจ แนะนำ วิธีการปฏิบัติงาน การบริหารงาน การเงินและการบัญชีแก่ สหกรณ์เพื่อให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานทางการเงินและบัญชี เพื่อเป็นการป้องปรามและป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การตรวจแนะนำให้สหกรณ์บันทึกรายการในบัญชีให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน รวมถึงการลงรายการในเอกสารทางการเงินของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรให้ถูกต้องครบถ้วยเป็นไปตามกฎหมาย การแนะนำให้กรรมการสหกรณ์ได้ตรวจนับเงินสดอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 

7. จัดให้มีการประชุมเสวนาสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร เพื่อรับทราบปัญหาและดำเนินการในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การสอบทานหนี้สิน การสอบทานหุ้น และเงินฝากของสมาชิก เป็นต้น 

8. ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตาม การดำเนินการแก้ไขการทุจริต ข้อบกพร่องของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ตามที่ผู้ตรวจการสหกรณ์ และผู้ตรวจสอบบัญชีของกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์สั่งการ 

9. ให้การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง ให้การแนะนำ ส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความรู้เกี่ยวกับอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรเพื่อการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานตามระบบสหกรณ์ 

10. ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจและส่งเสริมการตลาดแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ที่จัดตั้งขึ้นมาให้ มี การดำเนินการทางด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม โดยถ้ามีผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาดแก่สหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย 

11. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้า การบรรจุภัณฑ์ และรูปแบบการบริการของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า 

12. ส่งเสริมการเชื่อมโยงธุรกิจของสหกรณ์ให้มีการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างสหกรณ์กับ สหกรณ์ หรือสหกรณ์กับบุคคลภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเชื่องโยงเครือข่ายของสหกรณ์ให้ทราบโดยทั่วถึงกัน 

13. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดระบบงาน การบริหารงานบุคคล การบริหาร การจัดการ และการควบคุมภายในเพื่อพัฒนาให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น มีความเข้มแข็ง โดยการแนะนำช่วยเหลือในการวางแผน การจัดทำกลยุทธ์ การจัดทำโครงการและกิจกรรมการผลิตในระดับที่เป็นธุรกิจได้อย่างครบวงจรและมีศักยภาพ 

14. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับขนาดโครงสร้าง ปริมาณธุรกิจ ระบบงานการบริหาร วิธีดำเนินการ รวมทั้งแนะนำให้มีการควบคุมภายในของสหกรณ์และกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล 

15. วิเคราะห์ และเสนอแนะเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของโครงการ การสนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อแก่สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพและกลุ่มลักษณะอื่น ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหน อย่างไร โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบเกี่ยวกับการลงทุน การจัดหาแหล่งเงินทุน รวมทั้งการเสนอแนะแนวทางการบริหารเงินทุนของสหกรณ์ และกลุ่มต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุน 

16. ติดตาม ประเมินผลการให้สินเชื่อแก่สหกรณ์ และเงินทุนที่สหกรณ์ได้รับจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เช่น เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พร้อมทั้งเร่งรัด การส่งชำระหนี้ การเตือนหนี้ที่ถึงกำหนดชำระ 

17. ให้การส่งเสริม สนับสนุน แนะนำ ให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มสตรีสหกรณ์ กลุ่มเยาวชนสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มลักษณะอื่น มีส่วนร่วมในการพัฒนา วางแผนงาน โครงการสามารถดำเนินการและแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง 

18. ให้คำแนะนำให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อการวางแผน และการพัฒนางาน 

19. ประสานงานให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแล รักษาซ่อมแซมเทคโนโลยีการผลิตของสหกรณ์หรือกลุ่มต่าง ๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง 

20. ติดตาม ประเมินผล รายงานผลงาน และโครงการต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

21. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้
รับมอบหมาย

                         นิคมสหกรณ์  หน้าที่และความรับผิดชอบ

                       1. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ดินให้แก่ราษฎรในเขตจัดนิคมสหกรณ์ในรูปสหกรณ์เช่าที่ดิน
                       2. วางแผนและประสานงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์ในเขตรับผิดชอบ
                       3. ดำเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท และให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินสหกรณ์
                       4. ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์นิคมและสหกรณ์ประเภทอื่นตามที่สหกรณ์จังหวัดมอบหมาย
                       5. ปฏิบัติการร่วมกัน หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวงข้อง หรือได้รับมอบหมาย

                           การจัดที่ดินในนิคมสหกรณ์   การดำเนินการจัดที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์เป็นภารกิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือมีแต่ไม่พอเพียงต่อการประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว การจัดที่ดินดังกล่าวนี้ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 คือการกำหนดขอบเขตที่ดินของรัฐอันเป็นป่าเสื่อมโทรมเพื่อนำที่ดินส่วนนั้นมาจัดแบ่งให้แก่เกษตรกรการจัดตั้งนิคมสหกรณ์รัฐออกเป็นพระราชกฤษกีกาจัดตั้งขึ้น มีรูปแผนที่แสดงบริเวณที่ดินที่จะนำมาดำเนินการจัดสรรแต่ละนิคมสหกรณ์จะมีที่ดินจำนวนมาก ขณะนี้มีนิคมสหกรณ์ในความรับผิดชอบการจัดที่ดินตามภารกิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ทั่วประเทศ จำนวน 36 นิคม รวมเนื้อที่จำนวน ล้านไร่เศษ